อ้างไม่รู้ไม่ได้! 10 กฎหมายรถยนต์ต้องรู้
จากสถิติอุบัติเหตุบนท้องถนนในประเทศไทยที่มีมากเป็นอันดับ 2 ของโลก ทำให้ไทยต้องมีกฎหมายมากมายบนท้องถนน รวมถึงเพิ่มระดับความยากในการสอบใบขับขี่ เพื่อปกป้องตัวผู้ขับขี่เอง เพื่อนร่วมทาง หรือแม้แต่คนที่อยู่ข้างทางที่อาจได้รับความอันตรายต่อผู้ที่ทำผิดกฎหมายได้ แต่อย่างไรก็ กฎหมายเหล่านี้ยังไม่แน่ว่าจะช่วยลดความเสี่ยงลงได้ สิ่งสำคัญคือตัวของพวกเราเองที่ต้องมีความระมัดระวัง และไม่ประมาทในการขับรถ ในบทความนี้ได้รวบรวมกฎหมายยอดฮิตที่มีความสำคัญบนท้องถนนให้เพื่อนๆ ได้มารับทราบกัน
- แอลกอฮอล์เกิน 50 มก. = เมา
- ต้องรัดเข็มขัดแม้นั่งหลัง
- นั่งกระบะหลังไม่ได้
- ห้ามไฟหน้าหลายสี
- ห้ามเปิดไฟตัดหมอกโดยไม่มีเหตุ
- ห้ามใส่หลังคาซันรูฟ หรือมูนรูฟ
- ล้อยางเกินออกมานอกบังโคนข้างละหลายนิ้ว
จากมาตรา 12 และ 60 ล้อรถ ล้อรถด้านท้ายจะยื่นออกมาจากตัวถังรถได้ไม่เกิน 15 เซนติเมตร และขอบยางด้านนอกสุดห้ามยื่นออกมาเกินตัวถังรถ เว้นแต่จะมีอุปกรณ์ที่ด้วยให้ไม่เกิดอันตราย และความเสียหายเนื่องจากการหมุนของล้อ หากผู้ใดฝ่าฝืนจะต้องโทษปรับ ไม่เกิน 2,000 บาท
- ไฟเบรคต้องสีแดงเท่านั้น
- ห้ามติดไฟสปอตไลท์ และโคมไฟตัดหมอกแสงพุ่งไกล
- เปลี่ยนท่อไอเสียเสียงดัง
เป็นกฎหมายใหม่ที่เพิ่งออกให้เริ่มใช้เมื่อวันที่ 1 มิถุนายนที่ผ่านมา หากผู้ขับขี่รถยนต์ชนิดต่างๆ ยกเว้นรถไฟ และรถราง มีแอลกอฮอล์ในเลือดเกิน 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ จะถือว่าเมาสุรา ตามมาตรา 43(2) ผู้ขับขี่ที่ถูกตรวจพบว่าเมาสุรา จะต้องโดนจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับตั้งแต่ 5,000-20,000บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และศาลจะพักใช้ใบอนุญาติขับขี่ของผู้นั้นไม่น้อยกว่า 6 เดือน หรืออาจถูกเพิกถอนใบอนุญาติขับขี่ได้
เป็นกฎหมายที่เพิ่งเริ่มใช้เมื่อวันที่ 5 เมษายนที่ผ่านมา เนื่องจากที่ผ่านมาประเทศไทยมีสถิติการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนสูงเป็นอันดับ 2 ของโลก รัฐบาลจึงมีมาตรการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง ตามมาตรา 44 ฉบับที่ 14/2560 สั่งให้รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน รถแท็กซี่ รถตู้ และรถกระบะ ยกเว้น รถ 2 แถว รถกระบะมีแค็บ และรถ 3 ล้อเครื่อง จะต้องมีสายเข็มขัดนิรภัย และต้องคาดเข็มขัดนิรภัยทุกที่นั่ง บทลงโทษคือ คนขับและผู้โดยสารรถเก๋ง รถแท็กซี่ และรถกระบะ ปรับไม่เกิน 500 บาท ส่วนรถตู้ รถทัวร์ รถบรรทุกสินค้า ปรับไม่เกิน 5,000 บาท
กฎหมายนี้ก็เพิ่งออกผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 5 เมษายน ที่ผ่านมาเช่นเดียวกัน เนื่องจากรถกระบะที่มีแค็บเป็นรถที่จดทะเบียนเป็นรถกระบะบรรทุกส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง อีกทั้งบริเวณกระบะหลังไม่มีอุปกรณ์สำหรับความปลอดภัย และเป็นที่สำหรับไว้บรรทุกของเท่านั้น จึงถือว่าเป็นการใช้รถผิดประเภท ตาม พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ. 2522 มาตรา 21 มีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท
จากมาตรา 11 ในเวลากลางคืน หรือในที่มืด รถจะต้องเปิดไฟ หรือใช้แสงสว่างตามลักษณะที่กำหนด คือโคมไฟส่องสว่างหน้ารถจะต้องมีสีขาว หรือสีเหลืองเท่านั้น และจะต้องมีกำลังไฟไม่เกิน 10 วัตต์ เพราะอาจทำให้ผู้ร่วมทางเกิดความรำคาญจนอาจเป็นเหตุให้เกิดความไม่ปลอดภัยได้ หากผู้ใดฝ่าฝืน จะต้องถูกปรับไม่เกิน 500 บาท
ตามพ.ร.บ.จราจรทางบก มาตรา 11 ไฟตัดหมอกจะใช้ได้แค่ 4 กรณีเท่านั้น คือ 1. ช่วงฝนตกหนัก 2. เมื่อเจอหมอก 3. หลังฝนหยุดในเวลากลางคืน 4. ขับผ่านกลุ่มควัน เพราะหากใช้พร่ำเพรื่ออาจสร้างความรำคาญแก่ผู้ร่วมทางบนถนนจนเป็นเหตุให้เกิดความไม่ปลอดภัยได้ หากผู้ใจฝ่าฝืนมีโทษสูงสุดปรับไม่เกิน 500 บาท
เนื่องจากเข้าข่ายดัดแปลงสภาพรถในมาตรา 14 กับ 60 ว่าด้วยเรื่องดัดแปลงสภาพรถแล้วอาจเกิดความไม่ปลอดภัยได้ แต่ถ้าหากมีมาตั้งแต่โรงงานที่ผลิตตามสเป็ค ไม่ได้ดัดแปลงเอง ถือว่าไม่ผิดกฎหมาย หากผู้ใดฝ่าฝืนนำมาดัดแปลงทีหลังไม่ตรงตามสเป็คโรงงาน จะต้องโดนโทษปรับ ไม่เกิน 2,000 บาท
ตามมาตรา 12 และ 60 รถของผู้ขับขี่จะต้องมีไฟหยุด หรือไฟเบรคเป็นสีแดงเท่านั้น และห้ามดัดแปลงทำเป็นกระพริบด้วย เพื่อไม่ให้สร้างความรำคาญแก่คนอื่น หรือทำให้ผู้อื่นเข้าใจผิด จนเป็นเหตุให้เกิดความไม่ปลอดภัยได้ หากผู้ใดฝ่าฝืนจะต้องโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท
ตามมาตรา 12 และ 60 กำหนดให้ไฟหน้าของรถต้องมีสีขาวหรือเหลืองอ่อนเท่านั้น สูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 40 เซนติเมตร ไม่เกิน 135 เซนติเมตร ไม่สว่างจ้าเกินไป ไม่สะท้อนเข้ากระจกมองข้าง หรือกระจกมองหลังของผู้ขับขี่ที่ร่วมทาง เพราะทำให้สายตาผู้ร่วมทางพร่ามัว และจนอาจเป็นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุได้จากแสงไฟที่แรงเกินค่ามาตรฐาน หากผู้ใดฝ่าฝืนติดตั้งจะต้องโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท
ตามมาตรา 5(2) และ 58 การเปลี่ยนแปลงท่อไอเสียรถอันเป็นส่วนหนึ่งของตัวถังรถให้ผิดเพี้ยนไปจากทะเบียนที่จดไว้แล้วทำให้มีเสียงดังกว่า 95 เดซิเบล ในรัศมี 3 เมตรจากท่อ เว้นแต่ว่าใส่เครื่องระงับเสียงเพื่อให้ไม่เกิดเสียงดังอยู่ เนื่องจากสร้างความรำคาญให้แก่ผู้อื่น หรืออาจทำให้ผู้อยู่ใกล้ๆมีปัญหาทางการได้ยินได้ หากผู้ใดฝ่าฝืนจะต้องโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
เครดิต www.sanook.com