ถ้าใครติดตามข่าวเรื่องรถยนต์กันอยู่เป็นประจำ คงเคยได้ยินกับคำว่า รถคันนี้เป็นแบบ CKD รถรุ่นนี้เป็นแบบ CBU อะไรประมาณนี้ บางคนก็อาจจะมีข้อสงสัยว่า แล้วตัวล่อเหล่านี้คืออะไร แล้วเขาระบุเอาไว้เพื่ออะไร วันนี้เรามาหาคำตอบกันครับ
รถยนต์ที่ทำการจำหน่ายในประเทศไทยนั้น แบ่งเป็น 2 รูปแบบใหญ่ ๆ คือ รถที่ผลิต-ประกอบภายในประเทศ กับรถที่นำเข้าทั้งคันจากต่างประเทศ ทีนี้การเก็บภาษีสรรพสามิต ก็เลยมีอัตราการเรียกเก็บที่แตกต่างกัน เพราะทางรัฐบาลต้องการส่งเสริมให้ค่ายรถยนต์หันมาลงทุนผลิตรถยนต์ใหม่ในประเทศมากกว่า เพื่อให้เกินเงินหมุนเวียนภายในประเทศ, สร้างงานให้กับประชาชน รวมทั้งยังส่งเสริมการซื้ออุปกรณ์ภายในประเทศอีกด้วย ดังนั้นเลยมีการแบ่งประเภทเพื่อเรียกเก็บภาษีสรรพสามิตในอัตราที่แตกต่างกัน
CKD คืออะไร?
รถยนต์ในรูปแบบ CKD ก็คือ รถที่มีการประกอบภายในประเทศ ย่อมาจาก Completely Knocked Down โดยรถในรูปแบบนี้ จะมีการใช้ชิ้นส่วนภายในประเทศอย่างน้อย 40% และชิ้นส่วนที่เหลือจะเป็นการนำเข้ามาเป็นชิ้นส่วนต่าง ๆ จากต่างประเทศ แล้วนำชิ้นส่วนทั้งหมดมาประกอบเป็นรถ 1 คันเพื่อวางจำหน่าย โดยมีอัตราการคำนวนภาษีดังนี้
ภาษีสรรพสามิต = มูลค่า x อัตราภาษีสรรพสามิต
= (ราคาขาย ณ โรงงานอุตสาหกรรม+ภาษีสรรพสามิต+อัตราภาษีเพื่อมหาดไทย) x อัตราภาษีสรรพสามิต
= (ราคาขาย ณ โรงงานอุตสาหกรรม x อัตราภาษีสรรพสามิต) ÷ [1-(1.1x อัตราภาษีสรรพสามิต)]
*หากระบุอัตราภาษีทั้งตามปริมาณและตามมูลค่า ให้คำนวณค่าภาษีสรรพสามิตทั้ง 2 อัตราก่อน และให้ใช้อัตราที่คิดได้สูงกว่า
ตัวอย่างการคำนวณภาษี กรณีที่ผลิตในประเทศแบบ CKD
บริษัท รถยนต์ไทย จำกัด นำสินค้าออกจากโรงงานเป็นรถยนต์นั่ง ยี่ห้อ มาสด้า รุ่น RX-11 ความจุกระบอกสูบ 2,960 ซี.ซี.กำลังเครื่องยนต์ 225 แรงม้า (HP) จำนวน 1 คัน ราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม คันละ 500,000 บาท จงคำนวณค่าภาษีสรรพสามิต และภาษีเก็บเพิ่มเพื่อกระทรวงมหาดไทย
วิธีการคำนวณ
ภาษีสรรพสามิต = มูลค่า x อัตราภาษี
จากมูลค่ารถยนต์ต่อหน่วย = 500,000 บาท
*ต้องใช้อัตราภาษีตามมูลค่าร้อยละ 50 เนื่องจากแรงม้าเกิน 220 แรงม้า แม้ว่าความจุกระบอกสูบไม่เกิน 3,000 C.C. ก็ตาม
ภาษีสรรพสามิต = 500,000 x (50/100) = 250,000 บาท
เพราะฉะนั้นจะต้องชำระภาษีสรรพสามิต = 250,000 บาท
พร้อมด้วยภาษีเก็บเพิ่มเพื่อกระทรวงมหาดไทยร้อยละ10 ของค่าภาษี = 25,000 บาท
รวมภาษีต้องชำระ = 275,000 บาท
ดังนั้นเฉพาะต้นทุนหน้าโรงงานรถคันนี้ ก็อยู่ที่ 775,000 บาทแล้ว
รถแต่ละคัน ก็จะมีการเรียกเก็บอัตราภาษีสรรพสามิตที่แตกต่างกัน โดยรายละเอียดของการเรียกเก็บจะมีดังนี้ครับ
แล้ว SKD ล่ะคืออะไร
SKD ย่อมาจาก Semi Knocked Down หรือบางชุดมีการประกอบมาจากต่างประเทศแล้ว แล้วเอาเข้ามาประกอบให้เต็มคันในประเทศ ดังนั้นการประกอบในรูปแบบนี้ จะถูกรวมเข้าไปอยู่ในกลุ่มเดียวกันกับ CKD แล้วเรียกเก็บอัตราภาษีสรรพสามิตเดียวกัน
รถแบบ CBU คือแบบบไหน
CBU ย่อมาจาก Complete Built Up หรือรถที่นำเข้ามาทั้งคัน ถึงท่าเรือหรือท่าอากาศยานแล้วสามารถใช้งานได้เลย ซึ่งการนำเข้าแบบนี้ที่เราคุ้นเคยก็คือการที่ผู้นำเข้าอิสระนำรถยนต์ใหม่ที่ค่ายหลักไม่นำเข้ามาหรือผลิตขึ้นมาจำหน่ายในประเทศไทย เช่น Nissan Serena e-POWER, Honda Odyssey เป็นต้น ในการนำเข้ารถทั้งคันนั้น ทางรัฐบาลได้มีการออกกฎหมายกำแพงภาษีเพื่อสกัดกั้นไม่ให้นำเข้ามาจนกระทบกับผู้ผลิตภายในประเทศ เรียกเก็บอัตราภาษีที่สูงมาก โดยมีอัตราดังนี้ครับ
อัตราภาษีรถนำเข้า
1. ภาษีอากรนำเข้า = ราคา C.I.F. (ราคาสินค้า + ค่าขนส่ง +ค่าประกันภัย ) x 80%
2. ภาษีสรรพสามิต = (ราคา C.I.F.+ ภาษีอากรนำเข้า) x อัตราภาษีตามขนาดเครื่องยนต์ ÷ (1.1 x อัตราภาษีตามขนาดเครื่องยนต์)
3. ภาษีกระทรวงมหาดไทย 10% ของภาษีสรรสามิต
4. VAT 7% ของ ราคา C.I.F. + ภาษีขาเข้า + ภาษีสรรพสามิต + ภาษีกระทรวงมหาดไทย
คำนวนออกมาโดยคร่าว ๆ จะได้ประมาณนี้ครับ
- รถเกิน 3000 cc ภาษีทั้งหมด 328% ของราคา CIF
- 2501 cc – 3000 cc ภาษีทั้งหมด 243.94% ของราคา CIF
- 2001 cc – 2500 cc ภาษีทั้งหมด 213.171% ของราคา CIF
- ไม่เกิน 2000cc ภาษีทั้งหมด 187.47% ของราคา CIF
*เป็นค่าคำนวนคร่าว ๆ โดยอาจแตกต่างไปตามอัตราภาษีตามขนาดเครื่องยนต์
ข้อมูลจาก
http://bta.excise.go.th/calculate_tax_car.php?calculate_id=0002
http://www.car.go.th/new/Excisecar
เครดิต www.autodeft.com
ชุดเฟืองละเอียด 4JA1 เป็นยังไง ไปชมกัน
[vc_video link=”https://youtu.be/NQcMIVU3RAw” align=”center”]