Gaeglong

[ ทำไมพ่วงแบตรถยนต์ห้ามต่อ “ขั้วลบ” กับ “ขั้วลบ” เข้าหากัน? ]

  • Home
  • »
  • ความปลอดภัย
  • »
  • [ ทำไมพ่วงแบตรถยนต์ห้ามต่อ “ขั้วลบ” กับ “ขั้วลบ” เข้าหากัน? ]

 การพ่วงแบตรถยนต์เป็นวิธีการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าในกรณีที่แบตเตอรี่หมดหรืออยู่ในระดับต่ำจนไม่สามารถสตาร์ทเครื่องยนต์ได้ แต่ปัจจุบันยังมีผู้ใช้รถจำนวนไม่น้อยที่ยังคงเข้าใจผิดเกี่ยวกับการพ่วงแบตอย่างถูกต้องและปลอดภัย

เราจึงขอแนะนำขั้นตอนการพ่วงแบตเตอรี่ที่ถูกต้องมาฝากกัน จำแล้วนำไปใช้ได้เลย

การเตรียมตัวก่อนพ่วงแบตเตอรี่

นำรถคันแบตดีเข้ามาจอดใกล้กับคันแบตหมด โดยไม่ให้มีส่วนใดส่วนหนึ่งของตัวรถสัมผัสกัน ซึ่งโดยมากแล้วมักจะจอดรถหันหน้าเข้าหากันเพื่อความสะดวก จากนั้นดับเครื่องยนต์ ปิดระบบไฟที่ไม่จำเป็นของรถทั้งสองคัน เช่น ไฟส่องสว่าง (ยกเว้นไฟฉุกเฉินหากจำเป็น), ระบบเครื่องเสียง, ระบบปรับอากาศ ฯลฯ เพื่อเป็นการลดภาระของเครื่องยนต์ลงให้น้อยที่สุด

7 ขั้นตอนการพ่วงแบตเตอรี่ที่ถูกต้อง

  1. คีบปลายสายสีแดงเข้ากับ “ขั้วบวก” ของรถแบตหมด
  2. คีบปลายสายสีแดงเข้ากับ “ขั้วบวก” ของรถแบตดี
  3. คืบปลายสายสีดำเข้ากับ “ขั้วลบ” ของรถแบตดี
  4. คีบปลายสายสีดำเข้ากับ “กราวด์” ของรถแบตหมด ซึ่งอาจเป็นหัวน็อตหรือเหล็กเปลือยภายในห้องเครื่องยนต์ และควรห่างจากขั้วลบอย่างน้อย 50 เซนติเมตร
  5. สตาร์ทเครื่องยนต์รถแบตดี
  6. สตาร์ทเครื่องยนต์รถแบตหมด
  7. ถอดสายพ่วงแบตโดยเรียงจากข้อ 4 – 3 – 2 และ 1 ตามลำดับ

ทำไมพ่วงแบตถึงห้ามพ่วง “ขั้วลบ” กับ “ขั้วลบ” เข้าหากัน?

การพ่วงแบตเตอรี่รถยนต์ไม่ควรพ่วง “ขั้วลบ” เข้ากับ “ขั้วลบ” ของรถอีกคันโดยเด็ดขาด เนื่องจากประกายไฟที่เกิดขึ้นอาจสัมผัสกับก๊าซไฮโดรเจนที่ปล่อยออกมาจากแบตเตอรี่เองจนเกิดเป็นอันตรายได้

รถแบตหมดแบบไหนพ่วงสตาร์ทไม่ได้?

หากรถยนต์แบตหมดเนื่องจากการเสื่อมสภาพของตัวแบตเตอรี่หรือเผลอเปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าทิ้งไว้ (เช่น ไฟหน้ารถ) กรณีนี้มักไม่มีปัญหาในการจัมป์สตาร์ท เมื่อเครื่องยนต์ติดขึ้นก็สามารถนำรถไปเปลี่ยนแบตเตอรี่ลูกใหม่ได้ทันที แต่หากรถแบตหมดเนื่องจากไดชาร์จเสีย จะปรากฏไฟเตือนรูปแบตเตอรี่ขึ้นบนหน้าปัด กรณีนี้หากมีการจัมป์สตาร์ทจนเครื่องยนต์ติด แต่เมื่อถอดสายพ่วงแล้วเครื่องยนต์ก็มักจะดับอยู่ดี วิธีแก้ไขเฉพาะหน้าอาจจำเป็นต้องเรียกช่างมาเปลี่ยนแบตลูกใหม่ที่มีประจุไฟเต็ม จากนั้นรีบขับเข้าอู่โดยทันทีเพื่อไม่ให้แบตหมดกลางทางซ้ำอีก หรือหากใครสะดวกจะเรียกรถยกไปเข้าอู่ก็เป็นวิธีที่ดีเช่นกัน

 

 

เครดิต www.sanook.com

 

วีโก้จิ๊บๆ 15 ปีแล้วยังจิ๊บอยู่ไหม?

[vc_video link=”https://youtu.be/kq76IGR8z4c” align=”center”]