ต่อจากรอบที่แล้วนะครับ ผมกับทีมงาน “แกะกล่อง” ได้เคยอธิบายเรื่องแรงม้ากันไปบ้างแล้ว ว่าแรงม้าคืออะไร?? สำหรับใครที่สงสัยหรืออยากย้อนกลับไปอ่านผมจะแป๊ะลิ้งค์เอาไว้ด้านล่างนะครับ
http://qa.gaeglong.com/#/contents/horsepower
จากคราวที่แล้วก็มีคนถามถึงเรื่องของ “แรงบิด” และ “CC” ว่าสัมพันธ์กับแรงม้ายังไง?? วันนี้ผมกับทีมงานมีคำตอบมาเล่าสู่กันฟังครับ
ก่อนอื่นเลยต้องบอกว่า “แรงม้า” “แรงบิด” และ “CC” นั้นคือ [3 ประสานครับ] ทั้งหมดเป็นงานระบบที่มอบชีวิตและพลังงานให้กับรถยนต์ทั้งคัน หรือที่เรียกว่า “กำลัง” นั่นเองครับ
ซึ่งปัจจัยเรื่อง “กำลัง” นั้นถูกกำหนดขึ้นโดยวิศวะกรที่ออกแบบมาเพื่อตอบสนองการใช้งานหรือรองรับสภาพแวดล้อมของเครื่องยนต์และรถยนต์แต่ละรุ่นครับ ว่าจะใช้ในวัตถุประสงค์อะไร ไม่ว่าจะเป็นในสนามแข่ง, บรรทุก, หรือ ออฟโรด และอื่นๆ
หน่วยวัดและความเกี่ยวข้องพื้นฐาน:
“แรงม้า”(horsepower) = hp
“แรงบิด”(Torque) = N (นิวตัน ในระบบ Metric)
“CC” (ความจุ ลูกบาศก์เซนติเมตร) = (1000 cc = 1 ลิตร)
ถ้าเราพูดถึงเรื่องของความเร็วแบบง่ายๆแล้วละก็
หากเปรียบ “แรงม้า” นั้นคือความเร็วในช่วงปลายหรือความเร็วสูงสุดของท๊อปสปีด
“แรงบิด” นั้นก็คือการฉุดลากหรือความเร็วในช่วงต้นนั่นเองครับ
“แรงบิด” นั้นโดยทั่วไปแล้วจะถูกกำหนดด้วย CC (หรือปริมาตรความจุลิตร) ยิ่งเครื่องยนต์มี CC สูงแรงบิดก็จะยิ่งสูงตามไปด้วย
(ลองนึกภาพตามเล่นๆนะครับ ถังน้ำมันถังใหญ่ กับถังน้ำมันถังเล็ก เมื่อติดไฟ ถังไหนจะระเบิดแรงกว่ากันครับ?? ก็ต้องเป็นถังใหญ่ถูกไหมครับ แรงระเบิดที่ใหญ่ กำลังที่มาก พลังที่เยอะ ก็จะทำให้สิ่งของกระเด็นไปไกล หรือพุ่งไปไกลมากขึ้นเท่านั้น CC จึงมีผลต่อความเร็วในช่วงต้นมากเลยหละครับ)
อย่างเช่น เครื่องยนต์ 2000cc หรือที่เราเรียกว่าเครื่อง 2.0 หรือ 2.0 ลิตร นั่นละครับ
สิ่งนี้คือ ปริมาตรรวมของกระบอกสูบในเครื่องยนต์แต่ละรุ่นครับ ไม่ว่าจะเป็น 1.8, 2.0, 2.5, 3.0 หรือ 3.2 ก็ตาม
ยกตัวอย่างเช่น เครื่องยนต์ 2000cc ถ้ารถคันนี้มีเครื่องยนต์ 4 สูบ แสดงว่า กระบอกสูบแต่ละกระบอกมีความจุ 500cc นั่นเอง
ความจุของกระบอกสูบจะมีผลต่อ “แรงม้า” และ “แรงบิด” เนื่องจากการขับเคลื่อนของเครื่องยนต์จะเกิดจาก การจุดระเบิดของเชื้อเพลิงภายในกระบอกสูบทั้งสิ้น อย่างที่เขาว่าละครับข้อ(ข้อเหวี่ยง)ไม่หมุนล้อไม่เดินครับ 5555+
แต่สำหรับการบรรทุกแล้ว เราจะเน้นไปทาง “แรงบิด” กันมากกว่าครับ และเช่นเคยยิ่งเครื่องยนต์มี CC สูงแรงบิดก็จะยิ่งสูงตามไปด้วย
ตัวอย่างคือ เครื่องยนต์ 150hp(แรงม้า) 6000-7000cc อาจมีแรงบิด(หรือ Torque) สูงถึง 600-700 นิวตัน ที่สามารถบรรทุกของได้เป็นสิบๆตัน
แต่เครื่องยนต์ดีเซลอย่าง Mitsubishi Triton Plus VG-Turbo 178hp 2500cc m/t แรงบิด 400 นิวตันสามารถบรรทุกได้ 2-3 ตันหรือมากกว่า
ในขณะที่แรงม้านั้นใกล้เคียงกัน แต่การรับน้ำหนักและการบรรทุกนั้นต่างกันมากเพราะ CC มีผลต่อการฉุดลากและแรงบิด ยิ่ง CC เยอะประมาณเชื้อเพลิงที่ถูกเก็บไว้ในกระบอกสูบกับอากาศก็มากขึ้นทำให้เกิดแรงระเบิดมหาศาลส่งผลให้กำลังมากขึ้นตามไปด้วย
แต่ถ้าเป็นรถที่มีแรงม้าเยอะ ก็จะมีความเร็วในช่วงปลายหรือท๊อปสปีดมากขึ้นไปด้วยเช่นกัน
พูดไปพูดมา Triton 2.5 178hp ตัวนี้ครบเครื่องไปเลยใช่ไหมครับ? ฮ่าฮ่าๆ เกิดความอยากกันเลยทีเดียว
ยังมีเรื่องเล่าอีกเยอะเลยครับ วันนี้คงเล่าไม่หมด วันนี้พูดถึงเรื่องของการบรรทุกซะส่วนใหญ่ ไว้ครั้งหน้าผมจะมาเพิ่มเติมในเรื่องของความได้เปรียบเสียเปรียบของ “แรงม้า”และ”แรงบิด” นะครับมวยคู่ใหญ่ที่หลายคนพูดถึงกันเลยทีเดียว