หลายคนคงเคยสงสัยสินะครับ ว่า”แรงม้า”นั้นจริงๆแล้วคืออะไร ทำไมต้องเป็น”ม้า”?? หรือว่าเปรียบเทียบกับม้าจริงๆหรือเปล่า??

 

เวลาที่เราคุยทับกันเรื่องรถ เรามักจะได้ยินคู่สนทนาพูดถึง แรงม้า หรือ horsepower กันอยู่บ่อยๆ แม้กระทั่งในโฆษณาขายรถ เขาก็มักที่จะเอาแรงม้า มาอวดอ้างสรรพคุณแข่งกัน ว่าใครมีม้าอยู่ในฝากระโปรงมากกว่ากัน..วันนี้ “แกะกล่อง” มีคำตอบกับพร้อมทั้งบทความดีๆมาฝากกันครับ

เริ่มด้วย..แล้วทำไมต้องเป็นแรงม้า?? ทำไมไม่เป็นแรงคน แรงแมว หรือ แรงช้างแทน (ซึ่งอันหลังน่าจะตัวใหญ่กว่าและแรงเยอะกว่าว่าไหมครับ?? 555+)
“แรงม้า” หรือที่เรียกกันว่า horsepower นั้น ถูกบัญญัติขึ้นโดยวิศวกรที่ชื่อว่า James Watt (คนเดียวกับที่ถูกตั้งเป็นชื่อหน่วย “วัตต์” หรือหน่วยเทียบกำลังการทำงานของเครื่องใช้ไฟฟ้านั่นละครับ)
เรื่องราวของแรงม้า เริ่มต้นขึ้นเมื่อคุณ Watt ได้ไปทำงานคลุกคลีอยู่กับม้างาน ที่ต้องลากถ่านหินจากก้นเหมืองถ่านหิน ขึ้นสู่พื้นดินด้านบน
จากการประมวลค่าพลังของม้า ที่ใช้แรงลากถ่านหินมาเป็นตัวเลข เพื่อที่จะทำให้เข้าใจกันง่ายขึ้นและเป็นสากลยิ่งขึ้น ก็จึงได้ข้อสรุปดังนี้

” 1 แรงม้า (horsepower) ก็เท่ากับ การที่ม้า 1 ตัว สามารถลากถ่านหิน หรือลากน้ำหนัก 33,000 ปอนด์ ให้เคลื่อนไปได้ 1 ฟุด ใน 1 นาที “

อธิบายก็คือ รถยนต์ธรรมดา ที่บ้านเราใช้กันทั่วไป 
หากมีแรงม้าประมาณ 100 แรงม้า อาจจะต้องใช้เวลาประมาณ 20 วินาที ในการที่จะเร่งความเร็วจาก 0 ถึง 100
แต่ถ้าเป็นพวกรถแข่งที่ใช้วิ่งกันในสนาม ที่มีแรงม้าประมาณ 400 แรงม้านั้น อาจจะใช้เวลาเพียง 10 วินาที ในการทำความเร็วจาก 0 ถึง 100 เพียงเท่านั้น
นอกจากจะเกี่ยวข้องกับอัตราเร่งแล้ว แรงม้ายังมีผลกับน้ำหนักของการบรรทุกด้วยครับ ง่ายๆก็คือถ้าแรงม้ายิ่งเยอะ ก็จะสามารถลากน้ำหนักได้เยอะขึ้นตามไปด้วยนั่นเอง
อย่างตัว Toyota 2KD D4D เครื่อง 2500cc ที่ผมเอามาลง ก็มีแรงม้าประมาณ 102 Hp (horsepower) หรือก็คือมีม้าวิ่งอยู่ในท้อง 102 ตัวนั่นเองครับ

ปล. ผมคิดว่าถ้าสมัยนั้นคุณมิสเตอร์ Watt มีช้างที่สามารถมุดเข้าอุโมงไปลากถ่านได้ สมัยนี้เราอาจจะได้เห็นรถพลังช้างก็เป็นได้นะครับ 5555+