ลมยาง สิ่งที่อยู่ภายในยางของรถทุกคันและเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของยางรถทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นยางรถยนต์ รถจักรยานยนต์หรือรถจักรยาน ถ้าไม่มีหรือมีลมยางน้อยเกินไป รถก็จะไม่สามารถขับเคลื่อนได้เต็มประสิมธิภาพ หรือถ้ามีมากเกินไปก็อาจจะทำให้เกิดอันตรายเช่น ยางระเบิด เป็นต้น
ซึ่งหลายๆคนก็อาจจะเคยได้ยินคำว่า “ลมยางไนโตรเจน” แต่หลายๆคนก็อาจจะยังไม่ทราบว่า ลมยางไนโตรเจนคืออะไร แตกต่างจากลมยางธรรมดาอย่างไร วันนี้เรามีข้อมูลเกี่ยวกับลมยางไนโตรเจน ว่ามีข้อดี ข้อเสีย และมีประโยชน์อย่างไรบ้าง
ไนโตรเจนนั้นเป็นอโลหะโดยมีสถานะเป็นแก๊ส โดยไนโตรเจนนั้นเป็นส่วนหนึ่งของชั้นบรรยากาศโลก ที่มีอยู่มากถึง 78% ซึ่งปกติแล้วไนโตรเจนจะ ไม่มีกลิ่น รส หรือสี ส่วนข้อดีของไนโตรเจนเมื่อนำมาเติมลมยางนั้นมีดังนี้
- ช่วยลดการระเบิดของยางรถยนต์ เพราะว่าไนโตรเจนเป็นแก๊สเฉื่อย จะมีการเคลื่อนที่ช้า ทำให้ไม่เกิดความร้อนสะสมและแรงดันของลมยางที่เพิ่มขึ้น ซึ่งการที่เกิดความร้อนสะสมของลมยางนั้นจะทำให้แรงดันในยางนั้นขยายตัวมากประกอบกับโครงสร้างของยางที่เสื่อมสภาพจึงทำให้เกิดการระเบิดขึ้นนั่นเอง
- ไม่ทำให้ล้อกระทะเป็นสนิม เพราะไนโตรเจนนั้นไม่มีส่วนประกอบของไอน้ำ หรือ H2O ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ล้อเป็นสนิม
- ทำให้การขับขี่นุ่มนวลขึ้นและลดเสียงดังจากรอยต่อตะเข็บของถนนได้
- ไม่ต้องตรวจเช็คลมยางบ่อยๆ เพราะไนโตรเจนมีขนาดอะตอมที่ใหญ่กว่าออกซิเจน ทำให้ไม่สามารถซึมผ่านออกไปทางพื้นผิวของยางได้
- ลมยางไนโตรเจนช่วยเรื่องในการประหยัดน้ำมันได้ เพราะจากผลการทดลองในอเมริกา การที่เติมลมยางไนโตรเจน จะทำให้อุณหภูมิของยางลดลงและส่งผลให้ลดแรงเสียดทานของหน้ายางกับถนนที่น้อยกว่าปกติ จึงทำให้ช่วยในเรื่องการประหยัดน้ำมัน
ส่วนข้อเสียของลมยางไนโตรเจนนั้นมีดังนี้
- หาเติมได้ยากกว่าลมยางธรรมดา เพราะมีจุดบริการน้อย แถมในการเติมแต่ละครั้งจะมีค่าบริการเพิ่มเข้ามาด้วย
- ถ้าหากต้องการเติมลมไนโตรเจน ต้องทำการปล่อยลมธรรมดาในล้อออกให้หมดก่อน ไม่เช่นนั้นถ้าเราเติมลมไนโตรเจนลงไปล้อที่มีลมยางธรรมดาอยู่นั้น ลมยางไนโตรเจนใหม่ที่เราเติมเข้าไปก็จะแปรสภาพกลายเป็นลมยางธรรมดาในทันที
จะเห็นได้ว่าประโยชน์ของลมยางไนโตรเจนนั้นสามารถช่วยในเรื่องความปลอดภัยในการขับขี่ที่ต้องใช้ความเร็วสูงๆได้ แต่ข้อเสียของมันก็คือมีความยุ่งยากและหาจุดบริการเติมได้น้อย ซึ่งเพื่อนๆ ก็ต้องพิจารณาให้ดีก่อนว่า ลมยางไนโตรเจนนั้นคุ้มค่าและเหมาะสมกับการใช้งานของแต่ละบุคลลหรือไม่
เครดิต www.boxzaracing.com