รถจดประกอบคืออะไร?? คนรักความเร็วควรรู้

รถจดประกอบ คือ รถมือสอง ที่นำเข้ามาเป็นชิ้นส่วน หมายถึง แยกเอาโครงรถและอุปกรณ์ต่างๆจำพวก เครื่องยนต์ ล้อรถ ฯลฯ ออกจากกัน ส่วนจะแยกชิ้นส่วนออกมามากน้อยแค่ไหนก็แล้วแต่ผู้ที่นำเข้ามา ว่าจะแยกมาในรูปแบบไหน ก่อนที่จะนำเข้ามานั้นจำเป็นต้องแสดงให้ ศุลกากรเห็นว่า รถยนต์ที่น้ำเข้ามานั้นมาแบบเป็นชิ้นส่วน ไม่ใช่มาแบบสำเร็จรูปทั้งคัน เพราะถ้านำเข้ามาทั้งคันจะถือว่าเป็น “รถนำเข้า” ซึ่งอัตราภาษีจะแตกต่างกันมาก และการนำเข้ามานั้นจะต้องนำ “โครง” ตัวรถมาทั้งคันโดย “ห้ามตัดครึ่ง” ให้นำเข้ามาแบบสมบูรณ์ทั้งโครง
 

ซึ่งถ้านำเข้ามาแบบนี้จะสามารถนำโครงที่นำเข้ามานั้นจดเป็นรถจดประกอบได้ โดยจะเสียภาษีศุลกากรนำเข้าชิ้นส่วนตัวถัง 30% แต่ถ้าไม่ได้นำเข้ามาแบบโครงเต็มที่สมบูรณ์หมายถึงนำเข้ามาโดยการตัดครึ่ง หรือตัดบางมาเพียงบางส่วนจะเสียภาษีเพียงแค่ 3% แต่จะไม่สามารถใช้โครงนั้นมาจดทะเบียนได้คือสามารถนำโครงนั้นมาใช้ได้เป็น เพียงแค่อะไหล่ไม่เหมือนกับพวกที่นำเข้ามาทั้งโครงแบบสมบูรณ์ที่สามารถขอจด ทะเบียนได้

โดยการนำเข้ามาขอจดทะเบียนในแต่ล่ะครั้งนั้นจะต้องมีเอก สารอินวอยซ์ (Invoice) เสียภาษีศุลกากร แสดงชื้นส่วนเครื่องยนต์และตัวถัง ถึงจะจดประกอบเป็นรถที่สมบูรณ์ได้ ทีนี้พอได้ใบอนุญาติมาแล้ว ต่อมาก็ต้องหาโรงงานประกอบรถยนต์ที่ได้รับอนุญาติจากกรมสรรพสามิต เพื่อที่จะประกอบรถให้เป็นคันสมบูรณ์ออกมาเป็นคัน (สมัยก่อนไม่นิยมรถจดประกอบกันมากนัก สาเหตุมาจากที่สัมยก่อนนั้น ไม่มีโรงงานประกอบที่ถูกต้อง แต่ตอนนี้กรมสรรพสามิตเพิ่งจะเริ่มมีการออกใบอนุญาติให้ เลยมีโรงงานออกมาขอจดกันหลายสิบโรงงานกันเลยทีเดียว)

หลังจากที่ประกอบเสร็จแล้วก็ต้องนำรถเข้าไปเสียภาษีสรรพสามิตเหมือนรถ ป้ายแดงทุกประการ โดยการเสียภาษีนั้นทางกรมสรรพสามิตนั้นจะประเมินราคาว่ารถรุ่นไหน เครื่องยนต์ขนาดไหน ควรจะต้องเสียเท่าไหร่ โดยข้อมูลคร่าวๆ คือ รถเล็กที่เครื่องยนต์ไม่เกิน 2800 ซีซี เสียภาษี 30% จากราคาประเมิน รถที่มีเครื่องยนต์ใหญ่เกินกว่า 2800 ซีซี จะต้องเสียในจำนวน 50% ของราคาประเมิน

ข้อควรระวังเกี่ยวกับรถจดประกอบ
ก่อนจะซื้อรถจดประกอบควรตรวจสอบให้ดีเพราะมีพ่อค้าบางราย ไม่ยอมเสียภาษีให้ถูกต้อง แต่จะซิกแซกโดยเอาไปให้กรมสรรพสามิตต่างจังหวัดจับปรับซึ่งจะเสียแค่ สามเท่า แล้วหลังจากโดบปรับแล้วพ่อค้าจะนำใบเสร็จค่าปรับนั้นนำรถไปจดทะเบียน ซึ่งหลังจากโดนปรับแล้วจะสามารถ นำรถคันนั้นไปจดทะเบียนได้ ยกตัวอย่างเช่น รถจดประกอบคันหนึ่ง จะต้องเสียภาษี 30% กรมสรรพสามิตตีราคาประเมินรถคันนี้ไว้ที่ 10 ล้านบาท ก็เท่ากับว่าจะต้องเสียภาษี 30% เป็นจำนวนเงิน 3 ล้านบาทถึงจะถูกต้อง
 

แต่พ่อค้ากลับทำอีกอย่างนั่นก็คือเอารถคันดังกล่าวแอบลักลอบเข้ามาแล้ว เอาไปให้สรรพสามิตต่างจังหวัดจับ แล้วให้สรรพสามิตต่างจังหวัดตีราคาภาษีว่ารถคันดังกล่าวต้องจ่ายภาษี 1 แสนบาทซึ่งจะต้องจ่ายเป็น 3 เท่านั้นก็คือ 3 แสนบาทหลังจากจ่ายค่าปรับ 3 แสนบาทแล้วนั้น พ่อค้าก็จะนำใบค่าปรับนั้นไปยื่นต่อกรมขนส่งเพื่อที่จะขอจดเป็นรถจดประกอบ ด้วยการทำแบบนี้นี่แหละทำให้บรรดาพ่อค้าหัวใสทั้งหลายหลีกเลี่ยงภาษีได้เยอะ มาก ถึงแม้ว่าการกระทำดังกล่าวจะให้จดทะเบียนได้อย่างถูกต้องก็จริง แต่ถ้าตรวจพบในภายหลัง เจ้าของรถจะโดนเรียกย้อนหลังได้ คราวนี้จะหนักกว่าเดิมมากมาย คือจะต้องจ่ายเป็นจำนวน 3 เท่าของราคาภาษีที่ประเมินจริงๆ ในกรณีที่ยกตัวอย่างมานั่นก็คือ 3 เท่าของ 3 ล้านก็คือ 9 ล้านบาทนั่นเอง หนาวเลยล่ะสิทีนี้ เพราะฉะนั้นก่อนจะซื้อรถจดประกอบต้องเช็คให้ชัวร์ว่าพ่อค้าหรือเจ้าของเดิม นั้นเสียภาษีถูกต้องหรือไม่ ต้องเช็คให้ละเอียด ไม่ใช่เช็คแค่เพียงใบเสร็จเท่านั้นต้องต้องเช็คเอกสารอื่นๆ ร่วมด้วย

ต่อมาเรื่องเกี่ยวกับการจดแก๊ส หรือ สมอ. เป็นอีกเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับสรรพสามิตเลย ซึ่งรถทุกคันจำเป็นจะต้องเสียภาษีส่วนนี้ต่างหากอยู่แล้ว แต่ว่ารถจดประกอบนั้น ทุกคันต้องส่งตรวจ สมอ. หรือ มาตรฐานอุตสาหกรรม ถ้าเป็นรถทั่วไปที่ออกมาใหม่นั้นจะส่งเพียงแค่รุ่นละ 1 คัน แต่ในกรณีรถมือสองหรือรถจดประกอบนั้นจะต้องส่งทุกคันให้ตรวจกันเป็นรายคันไป เลยทีเดียว แต่ถ้าตรวจไม่ผ่านจะทำให้เสียค่าตรวจเป็นจำนวนเงินหลายหมื่นฟรีๆ ดังนั้นจึงมีบริษัทนายหน้าที่รับจัดการเดินเรื่องเอกสารในเรื่องเหล่านี้ให้ ผ่านโดยง่าย แต่ราคาก็ค่อนข้างแพงทีเดียวประมาณ 2-3 แสนบาทก็ว่ากันไปแล้วแต่รถแต่ล่ะรุ่นที่นำไปตรวจ

แต่ก็ยังมีคนที่เห็นช่องว่างของกฏหมายโดยการนำรถไปติดแก๊สแล้วค่อยไปจด ทะเบียนเพราะจะทำให้ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเดินเรื่องตรงนี้ เนื่องจาก สมอ. ไม่มีเครื่องตรวจรถที่ใช้แก๊ส จึงมีการอนุโลมให้รถที่ติดแก๊สไม่ต้องตรวจ สมอ. สามารถนำรถเข้าจดทะเบียนได้เลย คนก็เลยเลี่ยงกันด้วยวิธีดังกล่าว บางคนก็นำแก๊สไปติดได้ไม่นาน ก็ไปแจ้งยกเลิกแก๊สกลับไปใช้น้ำมันเบนซินดังเดิม หรือบางคนก็แอบแจ้งว่าเล่มทะเบียนหาย ไปขอทำใหม่ ก็จะได้เล่มที่ไม่มีหลักฐานว่ารถคันดังกล่าวเคยจดแก๊สมาแล้ว (แต่ต้นขั้วข้อมูลทางกรมขนส่งยังคงมีเก็บไว้) หนักสุดบางคนไม่ได้ติดแก๊สด้วยซ้ำไป แต่อาศัยเส้นหรือแอบยัดเงินซิกแซกแล้วให้พนักงานลงไปว่าติดแก๊สแล้ว หลังจากนั้นจดทะเบียนมาได้สักพักก็ไปแจ้งยกเลิกแก๊ส ทำแบบนี้จะผิดกฏหมายถ้าตรวจสอบเจอ เพราะว่าไม่ได้ติดแก๊สจริง จึงไม่น่าแปลกใจหากพบว่ารถซุปเปอร์คาร์ระดับราคาหลายสิบล้านบาท แจ้งจดทะเบียนว่าเป็นรถยนต์ใช้แก๊ส
ซึ่งการที่ใครจะสนใจอยากจะได้รถจดประกอบมาใช้จริงๆนั้นจำเป็นต้องศึกษา รายละเอียดให้มากหน่อยไม่งั้นอาจจะโดนหลอกเอาได้เพราะด้วยข้อดีที่เชื้อเชิญ ให้ซื้อของรถจดประกอบนั้นมันช่างเย้ายวนใจยิ่งนัก เนื่องจากราคาของมันต่างจากรถนำเข้าแบบปกติอย่างมากที่เดียว

เครดิต www.heremoo.com