tttttttttttt

t>> หัวใจสำคัญของระบบความปลอดภัย คือต้องการให้ผู้ขับขี่และผู้โดยสารปลอดภัยจากอุบัติเหตุ >> รถยนต์มีสมรรถนะเครื่องยนต์ที่สูงขึ้นมาก ก็สามารถทำความเร็วได้มากขึ้น หมายความว่าอุบัติเหตุก็จะเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว ดังนั้นระบบช่วยการทำงานต่างๆ เพื่อลดโอกาสการเกิดอุบัติเหตุจึงมีส่วนสำคัญมาก
tหัวใจในการปกป้องแยกเป็นสองข้อสำคัญ คือระบบช่วยต่างๆ เพื่อลดโอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุ กับระบบป้องกันหลังจากเกิดอุบัติเหตุแล้ว ซึ่งมีความสำคัญมากทั้งคู่ เราจำเป็นจะต้องเรียนรู้หน้าที่การทำงานของระบบต่างๆ เพื่อให้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพและไม่สับสน ว่าเมื่อเกิดการตอบสนองบางอย่างขึ้นนั้น ไม่ได้มาจากความผิดปกติของตัวรถ แต่นั่นเป็นการช่วยป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดอุบัติเหตุต่างหาก
t          เล่มนี้ขอแนะนำถึงการทำงานของระบบต่างๆ ว่าเมื่อระบบมีการทำงาน มันจะช่วยผู้ขับขี่อย่างไรและอาการจะเป็นอย่างไร เพื่อป้องกันความสับสนอันจะก่อให้เกิดอันตรายเพราะไม่รู้จักระบบของรถยนต์ตัวเอง
t          สิ่งที่น่าแปลกใจคือเวลาที่เลือกซื้อรถ มักจะเลือกซื้อรถยนต์รุ่นท็อปเพราะรู้ว่ามันเต็มไปด้วยออพชั่นทั้งระบบอำนวยความสะดวกและความปลอดภัย แต่เจ้าของรถไม่เคยเรียนรู้ถึงระบบความปลอดภัยต่างๆ เหล่านั้น ว่ามีการทำงานอย่างไร และแต่ละระบบช่วยในเรื่องของความปลอดภัยอย่างไร ซ้ำร้ายกว่านั้นคือไม่รู้ด้วยว่าระบบที่มีนั้นมีกี่ระบบกันแน่

ttttttttt

tttttttttt ttttttttt tt

tttttttttttt

t          ลองถามคนรอบข้างดูก็ได้ว่ารถคันที่ขับอยู่นั้นมีระบบความปลอดภัยอะไรบ้าง ถ้าตอบได้เกินครึ่งก็ถือว่าเก่งแล้ว ยกตัวอย่างง่ายๆ เหมือนซื้อสมาร์ทโฟนเครื่องละ 20,000-30,000 บาท แต่เอามาใช้เพียงโทรศัพท์ ถ่ายรูป อัพเฟซบุ๊ค ทั้งๆ ที่มือถือเครื่องละ 6,000-7,000 บาทก็ทำได้เหมือนกัน
t          แต่การซื้อสมาร์ทโฟนแพงๆ มาแล้วใช้ไม่คุ้มไม่ใช่เรื่องใหญ่ แต่ในรถยนต์นั้นระบบความปลอดภัยต่างๆ เป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้ เพราะเมื่อบางระบบทำงานเราอาจจะตกใจแล้วแก้อาการ หรือฝืนการทำงานของระบบอาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุไม่คาดฝันได้
t          ลองมาเรียนรู้ถึงการทำงานของระบบความปลอดภัยต่างๆ ว่าแต่ละระบบทำงานอย่างไรและเมื่อทำงานจะมีอาการอย่างไร ควรเรียนรู้ไว้จะได้ขับขี่ได้อย่างปลอดภัย

t>> TSA

tTSA (Trailer Stability Assist System) เป็นระบบรักษาเสถียรภาพรถเมื่อมีการลากจูง ตามปกติแล้วจะมีระบบช่วยการทรงตัวหรือระบบรักษาเสถียรภาพอยู่แล้ว ชื่อระบบคือ ASTC (Active Stability and Traction Control) ระบบช่วยการทรงตัวนี้แต่ละยี่ห้อมีชื่อเรียกแตกต่างกันไป แต่มันคือระบบเดียวกันคือมีหน้าที่ช่วยแก้อาการรถที่เริ่มเสียสมดุล ให้กลับมามีเสถียรภาพหรือกลับมาทรงตัวได้เหมือนเดิม
t          ปกติเมื่อระบบช่วยการทำงาน เราแทบจะไม่รู้สึกถึงอาการรถที่เกิดขึ้นสักเท่าไหร่ ถ้าเป็นคนช่างสังเกตอาจจะเห็นไฟโชว์กะพริบบนหน้าปัดบ้าง หน้าที่ของผู้ขับขี่คือบังคับพวงมาลัยให้ไปในทิศทางที่ต้องการ ที่เหลือระบบจะช่วยทำงาน
t          ในบางจังหวะเราอาจจะรู้สึกว่าความเร็วลดลง หรือเหยียบคันเร่งแล้วเครื่องยนต์ไม่ตอบสนองบ้าง นั่นเป็นเพราะว่าระบบกำลังช่วยแก้อาการให้รถกลับมามีการทรงตัวที่ดีดังเดิม
t          นอกจากการสั่งให้เบรกทำงานเป็นบางล้อแล้วอาจจะมีการตัดกำลังเครื่องยนต์ร่วมด้วย จึงอาจจะรู้สึกว่าเร่งแล้วเครื่องยนต์ไม่ตอบสนองก็ไม่ต้องตกใจ แค่ยกคันเร่งแล้วเลี้ยงพวงมาลัยไปในทิศทางที่ต้องการ
t          การเพิ่มฟังก์ชันควบคุบการทรงตัวเมื่อมีการลากจูงเป็นการเพิ่มความปลอดภัยให้มากยิ่งขึ้น เนื่องจากรถลักษณะนี้สามารถนำไปลากจูงเทรลเลอร์ที่บรรทุกเจ็ทสกี จักรยานยนต์ ม้า หรือแม้แต่ลากรถบ้านได้
t          เมื่อมีหางพ่วง ตัวหางจะมีการดึงและดันตัวรถตามจังหวะการขับขี่ จังหวะที่ออกตัวหางพ่วงจะคอยดึงตัวรถให้ถอยหลัง จังหวะเบรกหางพ่วงก็จะคอยดันตัวรถให้ไปข้างหน้า จังหวะเข้าโค้งก็จะคอยฉุดรถให้เสียการทรงตัว
t          ระบบ TSA จึงถูกเพิ่มขึ้นมาเพื่อให้ผู้ขับขี่สามารถควบคุมรถได้อย่างปลอดภัย นับเป็นฟังก์ชันใหม่ที่เพิ่มขึ้นมา การทำงานนั้นบางครั้งอาจจะทำให้ผู้ขับขี่รู้สึกแปลกๆ บ้าง สิ่งที่ควรทำคือถอนคันเร่งและค่อยๆ บังคับพวงมาลัยไปในทิศทางที่ต้องการ

ttttttttt tttttttttt ttttttttt tt

tttttttttttt

t

t>> TRACTION CONTROL

tระบบนี้จะเป็นการควบคุมการหมุนฟรีของล้อขับเคลื่อน ยกตัวอย่างเมื่ออยู่ในโหมดขับเคลื่อน 2H คือขับเคลื่อนล้อหลังนั่นเอง การออกตัวบนพื้นที่มีความฝืดเท่ากัน พูดง่ายๆ คือล้อหลังที่สองข้างอยู่บนถนนเดียวกัน เมื่อออกตัวก็จะไม่มีการหมุนฟรีของล้อ เพราะความฝืดที่หน้ายางเท่ากัน
t          ถ้าล้อข้างหนึ่งอยู่บนถนน อีกข้างหนึ่งอยู่บนไหล่ทางที่เป็นกรวด ความฝืดของล้อทั้งสองจะไม่เท่ากัน เมื่อเรากดคันเร่ง แรงล้อด้านที่อยู่บนไหล่ทางจะมีความฝืดน้อย จะเกิดการหมุนฟรี ทำให้ไม่สามารถออกตัวได้ หรือถ้าออกตัวได้
tรถอาจจะมีการลื่นไถลหรือท้ายปัดไปมาได้
t          ระบบจะทำการลดรอบเครื่องยนต์เพื่อลดรอบการหมุนของล้อ เราจะรู้สึกว่ากดคันเร่งแล้วเครื่องยนต์ไม่ตอบสนอง ถ้าเจออาการอย่างนี้สิ่งแรกที่ควรทำคือถอนคันเร่งแล้วตั้งสติใหม่ ออกตัวด้วยความนุ่มนวลกว่าเดิมเพื่อให้รถค่อยๆ เคลื่อนที่ จะลดอาการหมุนฟรีของล้อได้ ถ้าฝืนกดคันเร่งไม่ลืมหูลืมตา แน่นอนระบบจะป้องกันไม่ให้รอบเครื่องสูงเกินไป เพื่อให้รถออกตัวได้ แต่เมื่อออกตัวไปแล้วและล้อทั้งสองข้างกลับมามีการยึดเกาะที่เท่ากัน ระบบจะค่อยๆ ปล่อยให้เครื่องยนต์ทำงานเต็มที่ ถ้าเรายังกดคันเร่งมากๆ อาจจะทำให้รถพุ่งไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว อาจจะตกใจหรือควบคุมรถไม่ได้ จนเกิดอุบัติเหตุ

t>> FCM

tFCM (Forward Collision Mitigation System) ระบบเตือนการชนด้านหน้าพร้อมระบบช่วยชะลอความเร็ว ระบบนี้จะทำงานโดยอาศัยเรดาร์ เซ็นเซอร์ ตรวจจับด้านหน้าเพื่อประเมินระยะห่างจากรถคันหน้า และนำมาคำนวณร่วมกับสัญญาณต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นรอบเครื่องยนต์ ความเร็วตัวรถ องศาคันเร่ง ฯลฯ
t          เมื่อประเมินแล้วพบว่ามีโอกาสที่จะเกิดการชนท้าย ระบบจะส่งสัญญาณเตือนและช่วยชะลอความเร็ว และมีการเพิ่มแรงดันน้ำมันเบรกรอไว้เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเบรกให้ดียิ่งขึ้น ในความเร็วที่ต่ำกว่า 30 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และจะมีฟังก์ชันเบรกอัตโนมัติเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งระบบ ระบบนี้จะช่วยเบรกอัตโนมัติเมื่อตรวจพบว่ามีความเสี่ยงในการชนท้ายคันหน้า ระบบนี้จะช่วยได้มากเพราะการขับในเมืองที่การจราจรติดขัด
t          หลายครั้งผู้ขับขี่เผลอละสายตาจากถนนข้างหน้า ระบบจะช่วยเบรกให้ สิ่งสำคัญคือต้องศึกษาว่าเมื่อระบบเบรกฉุกเฉินให้แล้วต่อไปจะเป็นอย่างไร บางระบบจะเบรกหยุดให้ 3-5 วินาที จากนั้นผู้ขับขี่จะต้องเหยียบเบรกด้วยตัวเองเพื่อไม่ให้รถเคลื่อนไปข้างหน้าต่อ ถ้าตกใจพอรถหยุดแล้วแต่ไม่เหยียบเบรกต่อรถก็จะไหลไปข้างหน้าได้ จำเป็นอย่างมากที่ต้องเรียนรู้ไว้เพราะระบบเหล่านี้จะมีหน้าที่เพียงแค่ช่วยในเบื้องต้น แต่ที่เหลือผู้ขับขี่ต้องเป็นผู้ตัดสินใจเอง

ttttttttt tttttttttt ttttttttt tt

tttttttttttt

t

t>> UMS

tUMS (Ultrasonic Misacceleration Mitigation System) ระบบตัดกำลังเครื่องยนต์ชั่วขณะ เมื่อเหยียบคันเร่งอย่างรุนแรงและรวดเร็ว หัวใจการทำงานของระบบนี้คือการใช้คลื่นเสียง Ultrasonic ตรวจจับด้านหน้าและหลังในระยะไม่เกิน 4 เมตร เมื่อพบสิ่งกีดขวางและผู้ขับขี่เหยียบคันเร่งมากเกินไป ระบบจะตัดกำลังเครื่องยนต์ทันทีเป็นเวลา 5 วินาที
t          ยกตัวอย่างเช่น เมื่อจอดหันหน้าเข้ากำแพง แต่ผู้ขับขี่เผลอเข้าเกียร์เดินหน้าแทนเกียร์ถอยหลัง การเข้าเกียร์ผิดเกิดขึ้นได้บ่อยๆ แม้แต่ตัวผู้เขียนเอง ตามปกติจะมีแท่งปูนกันแนวล้อไว้ เมื่อเหยียบเบรกแล้วปล่อยคันเร่งรถจึงไม่เดินหน้าทันที ผู้ขับขี่อาจจะเหยียบคันเร่งเพิ่มอาจจะทำให้รถพุ่งเข้าหากำแพงได้ ระบบจะตัดการทำงานของเครื่องยนต์ชั่วขณะ เพื่อไม่ให้รถพุ่งเข้าหากำแพง เป็นระบบที่เจ้าของรถต้องเรียนรู้เพราะคุณมีเวลาแค่ 5 วินาที
t          บางคนดันทุรังคิดว่ารถมีปัญหาเร่งแล้วรถไม่ไปก็จะตะบี้ตะบันกดคันเร่ง แทนที่จะฉุกคิดว่าคุณเข้าเกียร์ผิดและตัดสินใจการถอนคันเร่ง เหยียบเบรก ถ้าคุณไม่เรียนรู้ว่ารถคุณมีระบบนี้และมันทำงานอย่างไร อาจจะมีเจ้าของรถที่เผลอเร่งเครื่องมากไปจนเกิดอุบัติเหตุได้
t          ข้อคิดง่ายๆ เมื่อเจออาการเหล่านี้คือเมื่อเจออาการผิดปกติ ถอนคันเร่งก่อนเป็นอันดับแรกแล้วเหยียบเบรกไว้ก่อน แล้วค่อยๆ ตั้งสติว่าเกิดอะไรขึ้น เช็กตำแหน่งเกียร์ว่าถูกต้องไหม เบรกมือคาอยู่หรือไม่ ข้างหน้าหรือข้างหลัง มีอุปสรรคขวางอยู่หรือไม่
t          ไม่ใช่พอเร่งแล้วไม่ไปก็ดันทุรังกดคันเร่ง กรณีแบบเคยเจอกับหลายคนด้วยกัน เป็นกรณีแตกต่างกันไป ตัวอย่างแรกคือเอาเบรกมือลงไม่สุด พอเหยียบคันเร่งแล้วรถไม่พุ่งไปข้างหน้าเหมือนเคย ก็เลยกดคันเร่งมากขึ้นไปอีกพอถึงจุดจุดหนึ่งที่เบรกมือต้านไม่อยู่ปรากฏว่ารถพุ่งไปข้างหน้าอย่างรวดเร็วจะไปชนกับรถที่จอดไว้ฝั่งตรงข้าม
t          อีกกรณีคือเข้าเกียร์ผิด ถอยเข้าซองจนล้อหลังไปยันกับแท่งปูนเตี้ยๆ ที่วางกันล้อเอาไว้ ตอนจะออกแทนที่จะเข้าเกียร์ D แต่พลาดไปเข้าเกียร์ R เมื่อปล่อยเบรก รถก็ไม่ขยับเพราะล้อยันกับแท่งปูนอยู่ แทนที่จะเหยียบเบรกก่อนแล้วฉุกคิด กลับเร่งคันเร่งหนักขึ้นไปอีก สุดท้ายรถพุ่งข้ามแท่งปูนเลยไปชนกับกำแพงอย่างแรง อย่างที่เราเคยเห็นข่าวรถพุ่งทะลุกำแพงลานจอดรถบ่อยๆ
t          ระบบ UMS จะช่วยเพิ่มความปลอดภัยได้มาก แต่ผู้ขับขี่ก็ต้องเข้าใจถึงระบบการทำงานของมันด้วย

ttttttttt tttttttttt ttttttttt tt tttttttttttt

t

t>> ABS

tระบบป้องกันล้อล็อกตาย เป็นระบบที่เราคุ้นเคยกันมานานแล้ว แต่ยังมีเจ้าของรถจำนวนมากไม่เข้าใจถึงหลักการทำงานของมัน ทำให้เกิดอุบัติเหตุอย่างไม่ควรจะเป็น ตามปกติแล้วเวลาเราเหยียบเบรกเต็มแรงในรถที่ไม่มี ABS รถอาจจะเกิดอาการลื่นไถลเนื่องจากล้อล็อกตาย
t          อาการคือเราพยายามหมุนพวงมาลัยไปในทิศทางที่ต้องการ แต่รถไม่มีการตอบสนองเพราะล้อล็อกแล้วไถลไปตรงๆ การหมุนพวงมาลัยไม่สามารถช่วยอะไรได้เลย แต่ระบบเบรก ABS จะช่วยป้องกันไม่ให้ล็อกตาย
t          ในขณะที่เราเบรกเต็มแรง เราสามารถหมุนพวงมาลัยให้รถไปในทิศทางที่เราต้องการได้ โดยที่เรายังเหยียบเบรกเต็มแรงอยู่และล้อก็ไม่ล็อกตาย
t           แต่อาการที่เกิดขึ้นก็คือแป้นเบรกอาจจะมีการสั่นสะท้านค่อนข้างแรง จนผู้ขับขี่ที่ไม่เคยเจอ เบรกจน ABS ทำงานมาก่อนก็จะตกใจ และอาจถอนเท้าออกจากเบรกจนทำให้รถเกิดอุบัติเหตุได้
t          จำไว้ว่าถ้ารถคุณมี ABS เมื่อเหยียบเบรกฉุกเฉินอย่าได้ยกเท้าออก เหยียบมันไว้อย่างนั้นแล้วหมุนพวงมาลัยไปในทิศทางที่ต้องการ

 t

>> 4WD

tระบบขับเคลื่อน 4 ล้อ 4WD เป็นระบบที่ต้องศึกษาให้ดี เพราะเจ้าของรถจำนวนไม่น้อยทำรถตัวเองพังแล้วไปโทษว่าระบบหรือรถไม่ดี
t          เจ้าของรถจำนวนมากที่ใช้รถขับเคลื่อน 4 ล้อ แต่ไม่มีความรู้ในการใช้งานเลย มิหนำซ้ำไม่รู้ด้วยว่าระบบขับเคลื่อน 4 ล้อในรถเป็นแบบใดมีข้อจำกัดอย่างไร
t          รถขับเคลื่อน 4 ล้อให้จำง่ายๆ ว่ามีระบบขับเคลื่อน 4 ล้ออยู่สองแบบคือ หนึ่ง, Full-Time สอง, Part-Time แล้วทั้งสองแบบแตกต่างกันอย่างไร
t          แบบแรกคือ Full-Time หมายถึงระบบขับเคลื่อน 4 ล้อตลอดเวลา เข้าใจง่ายๆ ก็คือทุกผิวถนนมันใช้ระบบขับเคลื่อน 4 ล้อได้หมด แต่ระบบ Part-Time นั้นแปลตรงๆ ตัวคือบางเวลา
t          เข้าใจง่ายๆ คือใช้ระบบขับเคลื่อน 4 ล้อได้อย่างมีข้อจำกัด ข้อจำกัดของระบบนี้ก็คือไม่สามารถใช้ระบบขับเคลื่อน 4 ล้อบนถนนแห้งหรือถนนที่มีความฝืดเท่ากันได้ สรุปง่ายๆ คือใช้ได้เฉพาะทางดินเท่านั้น ถนนลาดยาง คอนกรีต หรือถนนที่มีความฝืดสูงหมดสิทธิ์ อาจจะอนุโลมใช้บนทางลาดยางในช่วงเวลาฝนตกหนักถนนเปียกลื่นก็พอได้ แต่ถ้าถนนเริ่มหมาดๆ ก็ต้องกลับมาขับสองล้อเหมือนเดิมทันที ถ้าเผลอคือพัง
t          ในรถขับเคลื่อน 4 ล้อ ตำแหน่งขับเคลื่อนที่คนเข้าใจผิดมากที่สุดคือตำแหน่ง 4H หรือขับเคลื่อน 4 ล้อที่ใช้ความเร็วสูงได้ ตำแหน่งเกียร์นี้มีทั้งรถที่มีระบบขับเคลื่อนแบบ Full-Time และ Part-Time อ้าว! แล้วมันต่างกันตรงไหน
t          ต่างกันตรงรถขับเคลื่อน 4 ล้อแบบ Full-Time สามารถใช้ตำแหน่งเกียร์ 4H ได้ในทุกสภาพถนนโดยไม่พัง แต่รถที่ใช้ระบบขับเคลื่อน 4 ล้อแบบ Part-Time นั้นตำแหน่งเกียร์ 4H จะใช้ได้เฉพาะทางดิน ทางฝุ่น ทราย ฯลฯ เท่านั้น ไม่สามารถใช้บนถนนลาดยาง คอนกรีต หรือถนนที่มีความฝืดสูงได้
t          ถามว่าถ้าจะวิ่งได้ไหม ตอบเลยว่าได้ แต่จะได้กี่กิโลเมตรแล้วพังนั่นอีกเรื่องหนึ่ง เห็นกระทู้ดราม่าค่อนข้างเยอะว่าเกียร์หรือระบบขับสี่พัง แล้วโทษโน่นโทษนี่ แต่ไม่เคยโทษตัวเองเลยว่าไม่เคยเรียนรู้หรือศึกษาของระบบรถตนเองเลย

t>> สัญญาณเตือนบนหน้าปัด

tเป็นสิ่งที่คุณต้องเรียนรู้ ตามปกติแล้วไฟเตือนต่างๆ จะดับลงหลังจากเครื่องยนต์ติด เมื่อมีไฟโชว์อะไรขึ้นมาระหว่างขับขี่นั่นแสดงว่าอาจจะมีระบบช่วยด้านความปลอดภัยกำลังทำงานอยู่ หรือมีความบกพร่องขึ้นในบางระบบ
t          ดังนั้นอย่ามองข้ามคู่มือประจำรถที่มีลองศึกษากันบ้าง หรืออย่างน้อยเมื่อมีไฟโชว์อะไรขึ้นมาจำให้ได้ว่ามันเหมือนหรือคล้ายกับอะไร แล้วค่อยมาเปิดเทียบกับคู่มือประจำรถ จะได้ทราบว่ามีระบบใดกำลังทำงาน หรือมีความบกพร่องเกิดขึ้น

เครดิต www.gmcarmagazine.com