DIY วิธีหุ้มฝากระโปรงเคฟล่า ที่ทำกันได้เองที่บ้าน

  วันนี้เราได้นำวิธีการหุ้มเคฟล่ามาฝากให้เพื่อนๆได้ลองทำกันดูกับการหุ้มเคฟล่า วิธีการทำฝากระโปรงเคฟล่าก็ไม่ได้ยาก และราคาเคฟล่าก็ไม่ได้แพงอย่างที่คิดไว้เลย เพียงเราไปหาซื้ออุปกรณ์ในการทำมาเตรียมไว้ให้เรียบร้อยก่อน

อุปกรณ์ที่ต้องใช้

  1. ผ้าคาร์บอนไฟเบอร์
  2. น้ำยาเรซิ่น
  3. กระดาษทรายน้ำเบอร์ 100, 300, 600, 1,000 และเบอร์ 1,500
  4. เทปกาว 1 ม้วน
  5. แล็คเกอร์เคลือบเงา

          เตรียมอุปกรณ์ในการทำฝากระโปรงเคฟล่าเสร็จแล้วก็มาเตรียม ฝากระโปรงที่เราจะนำมาหุ้มผ้าคาร์บอนให้พร้อมทำตามขั้นตอนต่อไปนี้

1. นำฝากระโปรงหน้ามาขัด ปรับผิวหน้าชิ้นงาน ด้วยกระดาษทราย เบอร์ 800 – 1000 เพื่อให้ผิวหน้า มีความหยาบเล็กน้อยเพื่อให้น้ำยายึดติดกับผ้าคาร์บอนเคฟล่าได้ดีขึ้น

2. ต้องพ่นสีรองพื้นด้วยสีดำด้านก่อน(ถ้าชิ้นงานมีสีดำอยู่แล้วไม่ต้องพ่นก็ได้)

3. จัดเตรียมชิ้นงานเตรียมการหุ้มผ้าคาร์บอนไฟเบอร์

4. ตัดผ้าคาร์บอนไฟเบอร์(ในตัวอย่างใช้ผ้าประมาณ 1.5 ตารางเมตร)
 

 
5. นำผ้าคาร์บอนไฟเบอร์มาคลุมลงบนชิ้นงาน เพื่อวัดขนาด และจัดเรียงลายผ้าคาร์บอน ไฟเบอร์ให้สวยงาม

6. ทำการพ่นอีพ็อกซี่(Epoxy) เรซิ่น(Resin) ลงบนชิ้นงานด้านซ้าย(ในการทำงานที่ชิ้นใหญ่ ให้แบ่งทำทีละครึ่ง)

7. พ่น อีพ็อกซี่ เรซิ่น ลงบนชิ้นงาน ด้านขวา

8. เริ่มทำการเก็บขอบผ้าคาร์บอนไฟเบอร์โดยตวัดเก็บไว้ใต้ฝากระโปรง

9. การเก็บขอบผ้าคาร์บอนไฟเบอร์ต้องเก็บให้เนี๊ยบแบบนี้ครับ

10. วิธีการเก็บขอบผ้าคาร์บอน ไฟเบอร์ ให้ตัดผ้าคาร์บอนเป็นซี่ๆ แล้วแปะด้วยเทปกาวจากนั้นตวัดผ้าคาร์บอนไฟเบอร์เก็บไว้ที่ใต้ฝากระโปรงครับ

11. เก็บขอบผ้าคาร์บอนเสร็จแล้วเตรียมการเคลือบเรซิ่น

12. เรซิ่นที่ใช้เป็นอีพ็อกซี่ เรซิ่น แบบชนิดระยะเริ่มแข็งตัวที่ 30 นาที เรซิ่นตัวนี้สามารถทนความร้อนได้สูงถึง 100 องศาเซลเซียส ซึ่งข้อดีคือเมื่อใช้ไปนานๆ จะไม่ปูดบวม และที่สำคัญ ไม่มีกลิ่นเหม็น 

13. ทำการผสมเรซิ่นโดยใช้อัตราส่วน 100:35

14. ลงเรซิ่นชั้นที่ 1 ด้วยความใสของอีพ็อกซี่เรซิ่นจะซึมลงไปตามเส้นใยผ้าคาร์บอนไฟเบอร์ ลงไปยึดติดกับชิ้นงานด้านล่าง เพื่อเพิ่มการยึดเกาะกับชิ้นงาน

15. ตรงนี้เป็นเทคนิคสำคัญนะครับ ชั้นแรกให้ลงเรซิ่นแล้วปาดให้เหลือน้อยที่สุด เพื่อไม่ให้มีอากาศค้างอยู่ระหว่างผ้าคาร์บอนกับชิ้นงาน

16. ชั้นที่ 1 พอแห้งแล้วจะเป็นแบบนี้ครับ

17. ลงเรซิ่นชั้นที่ 2 

18. หลังจากเรซิ่นชั้นที่ 2 แห้งแล้วจะได้งานแบบนี้ครับ จากนั้นเตรียมการลงชั้นที่ 3 ต่อไป

19. ก่อนลงเรซิ่นชั้นที่ 3 (ในกรณีที่มีฝุ่นผง หรือแมลง บินมาเกาะให้ใช้กระดาษทรายเบอร์ 1,000 และ 1,500 ขัดแต่งก่อนนะครับ)

20. ลงเรซิ่น ชั้นที่ 3 

21. นี่คือความเงาใสของอีพ็อกซี่เรซิ่นที่มีความใสใกล้เคียงกับแก้ว

22. เตรียมการสู่ขั้นตอนต่อไปคือตัดขอบ และขัดผิวหน้าด้วยกระดาษทราย

เครดิต www.boxzaracing.com