เทคโนโลยีช่วยขับขี่อัจฉริยะ ตัวช่วยลดความเสี่ยงบนท้องถนน

ลองจินตนาการถึงการเดินทางในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นการเดินทางไปทำงาน การท่องเที่ยวระหว่างวันหยุดสุดสัปดาห์ การสัญจรจากจุด ก ไปยังจุด ข ในวันข้างหน้าว่าจะเป็นอย่างไร

หลายคนคงนึกถึงรถยนต์ขับเคลื่อนด้วยตัวเองหรือเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) ซึ่งในปัจจุบัน ผู้ผลิตรถยนต์ได้เริ่มปูทางเทคโนโลยีไปสู่ระบบคมนาคมขนส่งที่ชาญฉลาดและปลอดภัยยิ่งขึ้น เทคโนโลยีขั้นสูงจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านการเดินทางอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้รถยนต์สามารถเชื่อมโยงเมืองต่างๆ ได้อย่างสะดวก รวมถึงเปลี่ยนวิถีการขับรถของผู้คน

ตัวอย่างหนึ่งที่ ฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี คือ รถยนต์ที่มาพร้อมกับเทคโนโลยีล้ำสมัย อย่าง ระบบช่วยเบรกฉุกเฉินอัตโนมัติ (Autonomous Emergency Braking: AEB) ส่วนหนึ่งของเทคโนโลยีช่วยขับขี่อัจฉริยะของระบบขับขี่กึ่งอัตโนมัติ Ford Co-Pilot 360  ซึ่งมีอยู่ใน ฟอร์ด เอเวอเรสต์ ไทเทเนียม พลัส, ฟอร์ด เรนเจอร์ ไวลด์แทรค, ฟอร์ด มัสแตง 5.0L GT และ 2.3L Ecoboost ระบบนี้ช่วยผู้ขับขี่หลีกเลี่ยงการชน หรืออย่างน้อยก็เพื่อลดความรุนแรงเมื่อเกิดการชนที่ด้านหน้า ทำให้การขับขี่บนท้องถนนเป็นไปอย่างชาญฉลาดและปลอดภัยยิ่งขึ้น

AEB มองเห็นอันตรายที่คุณอาจไม่ทันสังเกต

ไม่ว่าจะเป็นผู้คนบนท้องถนนที่มีมากขึ้น หรือไลฟ์สไตล์อันแสนวุ่นวาย ส่งผลให้เสียสมาธิได้ง่าย รถยนต์จึงจำเป็นต้องมีอุปกรณ์และเทคโนโลยี เพื่อรับมือหรือแม้กระทั่งป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ ที่สามารถหยุดรถได้ในสภาวะต่างๆ มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการขับขี่ที่ปลอดภัยกับผู้ใช้รถใช้ถนน ระบบช่วยเบรกฉุกเฉินอัตโนมัติพร้อมระบบตรวจจับคนเดินถนน สามารถตรวจจับและตอบสนองต่ออันตรายในรูปแบบต่างๆ ได้ ตั้งแต่คนเดินถนน จักรยาน ไปจนถึงรถยนต์บนท้องถนน*

“ฟอร์ด ทำให้ระบบ AEB เป็นระบบมาตรฐานในรถยนต์ฟอร์ดรุ่นใหม่ๆ มากขึ้น เพื่อเพิ่มความปลอดภัยและส่งมอบเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดให้แก่ผู้บริโภค” สเตฟาน ซีแมนน์ หัวหน้าฝ่ายเทคโนโลยีช่วยขับขี่อัจฉริยะ ฟอร์ด เอเชีย แปซิฟิก กล่าว “นี่เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งความมุ่งมั่นของเราในการมอบความปลอดภัยสูงสุดในทุกการเดินทาง”

ข้อมูลจากหน่วยงานประกันความปลอดภัยบนทางหลวงจากสหรัฐอเมริกา (Insurance Institute for Highway Safety: IIHS) เผยว่า ระบบแจ้งเตือนการชนด้านหน้าและเบรกอัตโนมัติ หรือที่รู้จักกันดีในตลาดรถยนต์ในนาม ระบบ AEB สามารถลดการเสียชีวิตและอาการบาดเจ็บจากการชนได้ โดยระบบช่วยเบรกฉุกเฉินอัตโนมัติพร้อมระบบตรวจจับคนเดินถนน สามารถลดการชนที่ด้านหน้าและการชนท้ายได้ถึง 56% นอกจากนี้ ระบบดังกล่าวยังสามารถลดการบาดเจ็บของคนที่อยู่ในรถอีกคันได้ถึง 23%

ระบบช่วยเบรกฉุกเฉินอัตโนมัติพร้อมระบบตรวจจับคนเดินถนนของฟอร์ด ผสานการทำงานของกล้องและเรดาร์แบบคลื่นมิลลิเมตรในการตรวจจับและระบุความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นบนท้องถนน ในขณะที่เรดาร์ตรวจจับสิ่งกีดขวางระยะไกลที่เคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว เช่น ยานพาหนะ กล้องจะตรวจจับภาพ เช่น คนที่ผ่านไปมาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เมื่อระบบตรวจจับสิ่งกีดขวางที่อยู่ข้างหน้า จะส่งสัญญาณเตือนไปยังคนขับด้วยเสียงและไฟกระพริบ ในขณะเดียวกัน ระบบก็จะเตรียมเบรกเพื่อการหยุดรถอย่างรวดเร็ว และหากผู้ขับขี่ตอบสนองช้า เทคโนโลยีการเบรกอัตโนมัติจะทำงานโดยทันที ซึ่งสามารถช่วยหลีกเลี่ยงการชนหรือลดแรงกระแทกได้

เอาชนะความท้าทาย

การจราจรในเมืองที่วุ่นวายในปัจจุบัน ที่เต็มไปด้วยจักรยาน จักรยานยนต์ คนเดินถนน และพาหนะต่างๆ ยิ่งเป็นบททดสอบความสามารถของระบบช่วยเบรกฉุกเฉินอัตโนมัติ ตัวอย่างเช่น ผลการสำรวจในประเทศออสเตรเลีย ฟอร์ด พบว่าผู้ขับขี่มักเกิดความเครียดเมื่อพบคนปั่นจักยานบนถนน โดยมีผู้ขับขี่เกือบครึ่งที่แสดงออกเชิงลบต่อคนปั่นจักรยานขณะที่ขับรถ สถานการณ์ที่อาจเป็นอันตรายในรูปแบบดังกล่าวแสดงให้เห็นความสำคัญของระบบ AEB ที่สามารถตรวจจับและตอบสนองต่อสิ่งกีดขวางได้ นอกจากนี้ วิศวกรของฟอร์ดยังได้ทำการวิจัยและทดสอบเพื่อให้ระบบสามารถตรวจจับสิ่งขีดขวางในรูปแบบต่างๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ คนเดินถนน (เด็กและผู้ใหญ่) หรือคนปั่นจักรยานได้ ทั้งช่วงกลางวันและกลางคืน

ถึงแม้ระบบช่วยเบรกฉุกเฉินอัตโนมัติพร้อมระบบตรวจจับคนเดินถนน จะชาญฉลาดและปลอดภัยกว่าที่เคย แต่คนขับก็ยังจำเป็นต้องมีสมาธิจดจ่อในการขับขี่บนต้องถนน เพราะระบบกึ่งอัตโนมัตินี้ไม่สามารถทดแทนความสนใจของคนขับได้ เป็นเพียงระบบช่วยในการขับขี่เท่านั้น

“ขณะนี้ ระบบ AEB ได้รับการออกแบบเพื่อช่วยผู้ขับขี่ และแสดงให้เห็นถึงความสามารถของเทคโนโลยีอัจฉริยะ” สเตฟาน ซีแมนน์ กล่าว “พวกเราอยู่ในช่วงระหว่างวิวัฒนาการจากมนุษย์สู่เครื่องจักร โดยมีเทคโนโลยีอย่าง AEB ที่จะนำพาพวกเราไปสู่ท้องถนนที่ปลอดภัยและและชาญฉลาดยิ่งขึ้น”

*หมายเหตุ:  ระบบช่วยเบรกฉุกเฉินอัตโนมัติพร้อมระบบตรวจจับคนเดินถนน สามารถตรวจจับคนเดินถนนได้ในบางสถานการณ์ และไม่สามารถทดแทนความสามารถและการตัดสินใจในการควบคุมยานพาหนะของผู้ขับขี่แต่อย่างใด สามารถศึกษาข้อจำกัดของระบบเพิ่มเติมได้จากคู่มือ

เครดิต www.mthai.com/