เครื่องยนต์ Down Sizing + เทอร์โบ ประหยัดจริง หรือแค่การตลาด!?
ในสภาวะก่อนหน้านี้ที่เชื้อเพลิงมีการปรับราคาขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงปัญหาเรืองทรัพยากรและมลพิษที่มากขึ้น ณ ปัจจุบัน ส่งผลให้ผู้ผลิตในแต่ละวงการ ล้วนแล้วแต่ต้องปรับกลยุทธ์ เพื่อรองรับทิศทางในอนาคต โดยเฉพาะในวงการยานยนต์ ที่ถือว่ามีผลโดยตรง ล้วนแล้วแต่มีการพัฒนาผิตภัณฑ์ใหม่ๆ ออกมาอย่งต่อเนื่อง เช่น การผลิตรถที่มาในรูปแบบพลังงานไฟฟ้า พลังงานไฮบริดที่ใช้เครื่องยนต์ + มอเตอร์ หรือรูปแบบอื่นๆ เช่น การลดขนาดของเครื่องยนต์ให้เล็กลง แต่กลับให้ประสิทธิภาพในด้านพละกำลังที่สูงขึ้น ด้วยการพ่วงระบบอัดอากาศเข้าไป โดยมีการกล่าวอ้างว่า จะช่วยลดการใช้เชื้อเพลิงได้มากขึ้นด้วย สำหรับข้อเท็จจริงตรงนี้ มีความเป็นไปได้ขนาดไหน เราพาทุกท่านไปไขคำตอบพร้อมๆ กันครับ
เครื่องยนต์ Down Sizing เทรนด์ใหม่ในยุคปัจจุบัน
เป็นที่ทราบกันดีว่าเทรนด์ Down Sizing ถือว่าเป็นเทคโนโลยีที่กำลังมาแรงในปัจจุบัน ด้วยเหตุผลที่ว่า การเลือกใช้เครื่องยนต์ที่มีขนาดเล็กลง จะช่วยให้อัตราการบริโภคเชื้อเพลิงลดต่ำลงไปด้วย แต่ในขณะเดียวกัน ยังมีการนำตัวช่วยอย่างระบบอัดอากาศ เช่น เทอร์โบ มาเป็นตัวเรียกประสิทธิภาพของเครื่องยนต์บล็อคนั้นๆ ให้สูงขึ้น ให้พละกำลังหรือแรงม้าที่เทียบเท่ากับเครื่องยนต์ที่มีความจุสูงกว่า ซึ่งเมื่อผู้บริโภคังแล้ว ย่อมถือว่าเป็นข้อมูลที่ชวนดึงดูดใจอยู่ไม่น้อย แม้ว่าข้อมูลดังกล่าว จะมีมูลความจริงอยู่ในระดับท่น่าสนใจ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ล้วนแล้วแต่ต้องอาศัยพฤติกรรมของผู้ขับขี่ที่จะเป็นตัวบ่งชี้ในเรื่องอัราการสิ้นเปลืองนี้ด้วย
เครื่องยนต์กำลังสูงขึ้น อัตราการบริโภคเชื้อเพลิงก็ย่อมสูงขึ้นตามอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
บนพื้นฐานความเป็นจริง สำหรับเครื่องยนต์บล็อคเล็กที่มีปริมาตรความจุกระบอกสูบไม่สูงมากนัก ย่อมมีความเป็นไปได้ว่า เครื่องยนต์บล็อคนั้นๆ จะมีอัตราการบริโภคเชื้อเพลิงที่ต่ำ แต่หากต้องแลกมาด้วยพละกำลังทีต่ำลงไปด้วย ดังนั้นจึงต้องมีการเพิ่มสิ่งที่เป็นตัวช่วยในการเรียกกำลังของเครื่องยนต์บล็อคนั้นๆ ขึ้นมา ในที่นี้ก็คือ เทอร์โบ นั่นเอง ซึ่งเมื่อเพิ่มเทอร์โบเข้าไปแล้ว สามารถเรียกพละกำลังของเครื่องยนต์ออกมาได้อีกระดับ ชนิดที่ว่า ดีขึ้นแบบผิดหูผิดตา แต่เชื่อได้เลยว่า ไม่มีอะไรที่ได้มาฟรีๆ ในเมื่อกำลังของเครื่องยนต์สูงขึ้น มันไม่มีความเป็นไปได้เลยว่าอัตราการสิ้นเปลืองจะไม่สูงตาม พละกำลังของเครื่องยนต์ แปรผันโดยตรงกับอัตราการสิ้นเปลืองเสมอ ซึงเป็นพื้นฐานที่มิอาจแยกจากกันได้
ประหยัด ไม่ประหยัด ไม่ได้อยู่ที่พื้นฐานเครื่องยนต์อย่างเดียว แต่หากขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการใช้งานด้วย
ในอีกปัจจัยหนึ่งที่ควรทำความเข้าใจ คือ แม้เครื่องยนต์จะมีกำลังที่สูง แต่…สำหรับการใช้งานปกติในชีวิตประจำวัน เราอาจจะไม่ได้ใช้กำลังสูงสุดจากเครื่องยนต์ตลอดเวลา ด้วยเหตุผลนี้ เครื่องยนต์ที่มีความจุต่ำ จะเอื้อประโยชน์โดยทันที เช่น การขับขี่ในเมือง การจอดนิ่ง การวิ่งที่ความเร็วต่ำคงที่ เคลื่อนที่โดยใช้ความเร็วอย่างสม่ำเสมอ หรือไม่มีการใช้คันเร่งแบบเต็ม 100% แทบไม่มีเหตุผลใดๆ มาโต้แย้งเลย ว่าเครื่องยนต์ขนาดเล็ก จะมีความต้องการการใช้เชื้อเพลิงมากกว่าหรือเท่ากับเครื่องยนต์ที่มีความจุสูงกว่า แม้ว่าในท้ายที่สุดแล้ว เครื่องยนต์ 2 บล็อคนี้ จะมีแรงม้าสูงสุดในระดับเดียวกันก็ตาม หากอธิบายให้เข้าใจง่ายๆ เครื่องยนต์ 1.0 ลิตร + เทอร์โบ จอดติดเครื่องอยู่กับที่ ยังไงแล้ว ก็ประหยัดเชื้อเพลิงมากกว่าเครื่องยนต์ 1.5 ลิตร ที่ให้แรงม้าเท่ากันอยู่ดี เพราะในขณะที่จอดนิ่ง เราไม่ได้ใช้พละกำลังสูงสุดจากเครื่องยนต์ ซึ่งส่งผลโดยตรงต่ออัตราการบริโภคเชื้อเพลิง
สิ่งสำคัญของเครื่องยนตี่มีพละกำลังสูง อยู่ที่เรื่องของ…ทีเด็ดทีขาด ในยามที่ต้องการ
แต่ในทางตรงข้าม หากคุณต้องการกำลัง 100% จากเครื่องยนต์ (กดคันเร่งมิด) หรือใช้ความเร็วไม่คงที่ ต้องเร่ง ต้องเบรก และใช้แรงม้าสูงสุดของเครื่องยนต์บ่อยครั้ง ด้วยพละกำลังจากเครื่องยนต์เล็กพ่วงเทอร์โบ กับเครื่องยนต์บล็อคใหญ่กว่า ที่มีพละกำลังในระดับเดียวกัน บนพื้นฐานความเป็นจริง มีความเป็นไปได้สูงว่า เครื่องยนต์ 2 บล็อคนี้ อาจต้องการเชื้อเพลิงในการเผาไหม้ที่ไม่ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญเช่นกัน ตัวอย่างก็คล้ายๆ กับที่อธิบายไปในย่อหน้าที่แล้ว แต่เป็นในทางตรงข้าม คือ เอารถที่มาพร้อมเครื่องยนต์ 2 บล็อค พละกำลังเท่าๆ กัน มาเร่งแซงด้วยอัตราการทำงานแบบ 100% มันมีความเป็นไปได้ยาก ที่เครื่องบล็อคใดบล็อคหนึ่ง (ที่เกิดขึ้นมาในยุคที่เทคโลโลยีการผลิตพอจะเทียบเคียงกันได้ ไม่ใช่ว่าเอาเครื่อง 1.0 เทอร์โบ ยุค 2020 มาเทียบกับเครื่อง 2.0 ลิตร ในยุค 90) จะประหยัดกว่าอีกบล็อคอย่างชัดเจน แต่สิ่งที่เป็นข้อแตกต่างของเครื่องยนต์ 2 รูปแบบนี้ คือ ด้วยเครื่องยนต์ขนาดเล็ก + เทอร์โบ นั้นต้องรับภาระหนักในการสร้างพละกำลังให้เท่ากับเครื่องยนต์ที่มีขนาดใหญ่กว่า ดังนั้นเครื่องยนต์ที่มีขนาดเล็ก แต่ต้องการพละกำลังที่สูง จึงต้องได้รับการออกแบบและเลือกใช้ชิ้นส่วนคุณภาพสูงขึ้นอย่างพิถีพิถัน เพื่อประสิทธิภาพการใช้งานในระยะยาวด้วย
อธิบายมายืดยาว ขอสรุปอีกครั้งแบบเข้าใจง่ายๆ คือ เครื่องเล็กพ่วงเทอร์โบ ประหยัดกว่าจริงในเงื่อนไขการใช้งานทั่วไปแบบไม่เน้นการเค้นแรงม้าสูงสุด แต่วัตถุประสงค์ที่ทางค่ายเน้นการพัฒนาให้มีพละกำลังสูงเทียบเท่ากับเครื่องยนต์ที่มีขนาดใหญ่กว่าก็เพราะ หากต้องการทีเด็ดทีขาด เครื่องยนต์บล็อคนั้นๆ ก็สามารถทำได้ แม้จะไซส์เล็ก แต่ก็เร่งแซงได้อย่างมั่นใจ ซึ่งก็ต้องยอมรับเรื่องอัตราการสิ้นเปลืองกับเครื่องยนต์บล้อคใหญ่กว่า ที่ให้กำลังในระดับเดียวกันด้วยนั่นเอง เรื่องแรงน่ะ…แรงแน่ แต่ประหยัด หรือไม่ประหยัด มันขึ้นอยู่กับคนขับล้วนๆ
เครดิต www.boxzaracing.com