กลับมาพบกันอีกเช่นเคย กับมุมสาระดีๆ เกร็ดความรู้เรื่องรถจากทางทีมงาน เราที่จะนำความรู้และสาระดีๆ เกี่ยวกับยานยนต์มาให้เพื่อนๆ ได้รับชมกัน สำหรับวันนี้ขอกลับมาในเรื่องของ Aerodynamic กันอีกสักที เพราะว่าเรื่องนี้ มันเป็นเรื่องที่ค่อนข้างละเอียดอ่อนเอามากๆ ทำให้วันนี้เราจะขอมาลองส่องเจ้า Spoiler แบบใหม่ ที่เขาเรียกกันว่า Swan Neck กันครับ ว่ามันเกิดขึ้นมาเพราะอะไร รวมไปถึงประสิทธิภาพการสร้างแรงกดของมัน ทำได้ดีขนาดไหนกัน
หากพูดถึง Spoiler หลังเพื่อนๆ หลายคนก็คนนึกถึง GT- Wing แบบเดิมๆ ที่มีขายึดอยู่ที่ด้านล่างของปีกใช่ไหมล่ะครับ แต่ทว่าไอ้เจ้า Swan Neck แตกต่างออกไป ด้วยการออกแบบให้ตัวยึด ย้ายมาจับที่ด้านบนของปีกแทน ส่งผลให้รูปร่างดูแปลกตาไปอีกขั้น ไม่ใช่ว่าเพื่อความดูดี หรือความแปลกตานะครับ เพราะว่าเหตุผลของมันคือ หลักอากาศพลศาตร์ล้วนๆ เลยทีเดียว ซึ่งต้นกำเนิดของมันนั้น ก็มาจากการแข่งขันรถยนต์ทางเรียบ โดยมีกฏการแข่งว่าอุปกรณ์สร้าง DownForce ต้องมีขนาดที่ “เท่ากัน” ทำให้ โจทย์ถัดมาคือ ทำอย่างไรให้มีแรงกดมากที่สุด ในขนาดที่จำกัดนั่นเองครับ
เราลองมาส่องกันหน่อยดีกว่าครับ ว่าทำไมล่ะ แค่ย้ายจุดยึดมันสามารถทำให้แรงกดเพิ่มขนาดนั้นเลยเหรอ คำตอบคือ ถูกต้องเลยครับ หากเพื่อนๆ ที่ไม่ความเข้าใจเรื่องการทำงานของ Spoiler แบบ Wing กันมาก่อน จะทราบว่าอากาศที่ไหลผ่านตัวของ Wing ด้านบนและด้านล่างนั้น ความเร็วไม่เท่ากัน ซึ่งด้านบนนั้น จะไหลช้ากว่ามาก หากให้เพื่อนๆ ลองจินตนาการง่ายๆ ครับ ลองนึกถึงลำธารที่น้ำไหลเชี่ยว แต่มีตอไม้ไปขวางทางน้ำ น้ำก็จะไหลอย่างสเปะสปะใช่ไหมล่ะครับ เจ้า Wing ตัวนี้ก็เหมือนกันครับ การมีฐานยึดที่ด้านล่างนั้น กลับกลายเป็นดาบสองคมขึ้นมาซะอย่างนั้น แต่ถ้าวิ่งที่ทางตรงอันนี้ยังพอรับได้ แต่เมื่อรถมีการเลี้ยว อากาศที่ไหลเข้ามายัง Wing นั้น จะไม่ใช่เส้นตรงทางด้านหน้า แต่กลายเป็นว่าวิ่งเข้ามาทางด้านข้าง อ้าว ! แล้วทำไมล่ะ มันเกิดอาการ Seperated จากตัวเสายึด ทำให้ลมที่ไหลผ่านไปไม่มีคุณภาพมากพอที่จะสร้างแรงกดนั่นเองครับ
เมื่อนำขายึดมาตั้งไว้ด้านหน้า ทำให้อาการ Seperated นั้น จะน้อยลงอย่างมาก ส่งผลให้ลมที่ไหลเข้ามายัง Wing หลังมีคุณภาพมากพอที่จะสร้างแรงกด แม้จะอยู่ภายในโค้งความเร็วสูงก็ตาม ยิ่งไม่ต้องพูดถึงทางตรง ที่กระแสของลมสามารถเข้าไปยัง ปีกได้แบบเต็มๆ ส่งผลให้เกิดแรงกดที่มากพอจะทำให้รถคันนั้น เกาะติดบนถนนมากกว่าเดิมเข้าไปอีกครับ
แต่อย่างไรก็ดีมันก็ยังแอบมีจุดเสียเล็กๆ น้อยๆ นั่นคือ แรงต้านอากาศที่เพิ่มขึ้นมาอย่างเลี่ยงไม่ได้ ถึงอย่างนั้น มันก็ไม่ใช่ปัญหาใหญ่อยู่ดีครับ เพราะตามหลักพื้นฐานรถยนต์ก็ต้องต่อสู้กับแรงเสียดทานต่างๆ นานาอยู่แล้ว แต่อุปกรณ์นี้ให้ผลดีมากกว่าเสีย ทำให้มันก็ไม่ใช่ข้อเสียที่น่ากลัวอะไรมากมายครับ
เอาล่ะครับ…เป็นอย่างไรบ้างกับเจ้า Swan Neck กับการทำงานที่เรียกได้ว่าแค่ขยับนิด ชีวิตก็เปลี่ยน บางทีการออกแบบง่ายๆ ก็สามารถเปลี่ยนแปลงหน้าประวัติศาสตร์ได้เลย ถ้าไม่เชื่อก็ดูอย่างเจ้ากระทิงดุ Lamborghini Huracan Performante น้องใหม่สายเลือดกระทิงดุ ที่มาพร้อม Wing หลังแบบ Swan Neck บวกกับระบบ Aerodynamic อัจฉริยะ ทำให้มันมีส่วนช่วยทลายกำแพงเวลาของสนาม Nurburgring ลงไปได้อย่างไม่ยากเลยครับ
เครดิต www.boxzaracing.com