หน้าร้อนเมืองไทยร้อนมากที่สุด ปีนี้ร้อนระดับ 10 ร้อนแบบละลายได้ แล้วรถยนต์ของเราจะร้อนแค่ไหน โดยเฉพาะอุปกรณ์ต่างๆ จึงต้องหันมาดูแลรถยนต์เป็นพิเศษ เนื่องจากอุปกรณ์บางอย่างเสื่อมสภาพง่าย โดยเฉพาะประเภทยาง ดังนั้นมีอะไรบ้างที่ควรตรวจสภาพเตรียมพร้อมก่อนเข้าหน้าฝน ไปดูกัน
เช็กอุปกรณ์รถยนต์ก่อนเข้าหน้าฝน
อุปกรณ์ภายในรถยนต์หลายอย่างอาจเกิดความเสียหายได้ ถ้าอากาศร้อนจัด โดยเฉพาะยางจะเสื่อมสภาพได้ง่าย จึงต้องเช็กสภาพรถยนต์อย่างสม่ำเสมอ อุปกรณ์ที่เสียหายบ่อยมีอะไรบ้าง ดังนี้
1. แบตเตอรี่รถยนต์
หน้าร้อน น้ำกลั่นของแบตเตอรี่รถยนต์จะระเหยเร็วกว่าปกติ โดยเฉพาะรุ่นที่ต้องเติมน้ำกลั่น หากทิ้งไว้นานอาจทำให้แบตเตอรี่ทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ
2. ยางรถยนต์
อากาศร้อน ทำให้ความดันภายในยางเพิ่มสูงขึ้น และหากเป็นยางที่ใช้งานมานาน เมื่อเติมลมยางในปริมาณมาก และมาวิ่งบนถนน ยางอาจตึง ยางเกิดอาการบวมและถึงขั้นระเบิดได้
3. ที่ปัดน้ำฝน
หน้าร้อนยางที่ปัดน้ำฝน หากใช้งานนานๆ อาจเสื่อสภาพแข็ง หลุดร่อน ใช้งานไม่ได้ หากเช็กแล้วว่ายางไม่ยืดหยุ่นให้เปลี่ยนยางที่ปัดน้ำฝน เพื่อป้องกันรอยที่อาจจะเกิดจากยางแข็ง
4.ขอบยางประตู
เมื่อขอบยางประตูเสื่อมสภาพ จะทำให้มีปัญหาในการเปิด-ปิดประตู และอาจมีน้ำซึม ส่งผลระยะยาวให้ประตูผิดรูปได้
5. หม้อน้ำ
ให้ตรวจสอบระดับน้ำในหม้อน้ำว่าพร่องหรือน้อยไปหรือไม่ หากใช่ให้รีบเติมหมั่นเติมน้ำหล่อเย็นให้ถึงระดับที่กำหนดทันที(แนะนำให้ใช้น้ำหล่อเย็นแบบผสมสำเร็จ) ถ้าเป็นรถใหม่ ควรตรวจสอบอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง หากเป็นรถที่มีอายุการใช้งานเกิน 5 ปี ควรตรวจสอบ 2 – 3 ครั้งต่อสัปดาห์
6. ฟิล์มกรองแสง
ให้พิจารณาจากคุณสมบัติต่าง ๆ ของฟิล์ม เช่น ค่าการลดรังสีอัลตร้าไวโอเลต, ค่าการลดความร้อน, ค่าการสะท้อนแสง ซึ่งฟิล์มกรองแสงที่คุณภาพดีนั้นจะสามารถลดความร้อนจากแสงแดดได้สูงสุด 68%
7. เครื่องยนต์
ขณะขับขี่สามารถสังเกตอาการเครื่องยนต์ร้อนจัด ให้รีบปิดแอร์เพื่อลดการทำงานของเครื่องยนต์และนำรถจอดข้างทาง เปิดฝากระโปรงรถ เพื่อระบายความร้อน ถ้ามีไอน้ำพุ่งขึ้นมาจากฝากระโปรงรถ รอจนความร้อนของเครื่องยนต์ลดลงจึงไปต่อ ที่สำคัญห้ามราดน้ำลงไปที่เครื่องยนต์เด็ดขาด เพราะจะทำให้เครื่องยนต์เสียหายได้
เท่านี้ ก็น่าจะช่วยให้คุณสามารถใช้รถได้อย่างสบายๆในช่วงเปลี่ยนถ่ายจากหน้าร้อนไปสู่หน้าฝนได้ โดยไม่ต้องกังวลว่ารถของคุณจะเกิดปัญหา อีกทั้งหากเจอปัญหาก่อนแก้ไขได้ก่อนก็ยังเสียเงินในกระเป๋าน้อยกว่าที่ควร
เครดิต www.autospinn.com
เทอร์โบ 4JB1-T (สำหรับรถบรรทุก) เป็นยังไง ไปดูกัน | แกะกล่องรีวิว