หลายคนมีความเชื่อว่าน้ำดื่มแบบขวดที่แถมมาจากการเติมน้ำมัน ไม่ควรนำมาดื่มบริโภค เนื่องจากถูกวางทิ้งไว้กลางแสงแดดต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน อาจทำให้สารเคมีหลุดออกมาเจือปนกับน้ำ เกิดเป็นอันตรายต่อร่างกาย แต่ความจริงเป็นเช่นนั้นหรือไม่ เราจะพาไปไขคำตอบกัน

     อ้างอิงจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เคยออกมาระบุว่า ไม่เคยมีรายงานการตรวจพบ “สารไดออกซิน” ในน้ำดื่มบรรจุขวดที่วางทิ้งไว้ในรถที่จอดกลางแดด หรือกระทบกับแสงแดด โดยความเชื่อที่ว่าสารไดออกซินจะละลายออกมาจากขวดบรรจุน้ำดื่มเมื่อวางไว้ในที่ที่มีอากาศร้อน ส่งผลให้เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งได้นั้น เป็นเหมือนเรื่องเล่าที่มีการแผยแพร่ต่อกันมาโดยปราศจากข้อมูลที่แน่ชัด

     จากการสืบค้นข้อมูลทางวิชาการที่มีการศึกษาวิจัย และเผยแพร่ในวารสารที่มีการพิจารณาตรวจแก้จากผู้ทรงคุณวุฒิ สรุปได้ว่า ไม่เคยมีรายงานการตรวจพบไดออกซินในพลาสติก และสารเคมีต่างๆ ที่ถูกกล่าวอ้างว่าละลายออกมาจากขวดพลาสติกทั้งในสภาวะอุณหภูมิสูงและสภาวะการแช่แข็ง แล้วทำปฏิกิริยากลายเป็นสารไดออกซินนั้น ไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนว่าเกิดขึ้นได้

     นอกจากนี้ สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ยังเคยทำการทดลองโดยนำตัวอย่างน้ำดื่มที่บรรจุในขวดพลาสติกชนิดพอลิเอทิลีน (PE) พอลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต พอลิพรอพิลีน (PET) พอลิคาร์บอเนต (PC) และพอลิไวนิลคลอไรด์ (PVC) ที่จำหน่ายในตลาดสดและซุปเปอร์มาร์เก็ตจำนวน 18 ยี่ห้อ และนำไปวางในรถที่จอดกลางแดดเป็นเวลา 1 วัน และ 7 วัน จากนั้นตรวจวิเคราะห์สารประกอบกลุ่มไดออกซิน จำนวน 17 ตัว และพีซีบี จำนวน 18 ตัว ผลการวิเคราะห์สรุปว่า ตรวจไม่พบ สารประกอบกลุ่มไดออกซินและพีซีบีในทุกตัวอย่าง

     ดังนั้น การดื่มน้ำจากขวดพลาสติกที่ทิ้งไว้ในรถจึงไม่ทำให้ก่อมะเร็งแต่อย่างใด แต่อาจมีกลิ่นที่ผิดเพี้ยนไปจากน้ำดื่มทั่วไปเท่านั้น

 

 

เครดิต www.sanook.com

 

วีโก้จิ๊บๆ 15 ปีแล้วยังจิ๊บอยู่ไหม? | แกะกล่องHowMuch? EP.2