การแข่งขัน Drag มีมาตั้งแต่ปีไหน? เกิดขึ้นได้อย่างไร
เกมส์การแข่งขันรถยนต์ทางเรียบ 402. เมตร หรือที่เราๆ ท่านๆ เรียกกันว่าการแข่งขัน Drag นั่น ตอนนี้กระแสการแข่งขันในบ้านเรามากแรงมากๆ เพราะไม่นานมานี้มีคนสร้างกำแพงเวลาขึ้นมาใหม่มากมายอย่างเช่น หนุ่ย&เป๋อ สุพรรณ ที่ทำและขับรถเครื่องยนต์ดีเซล 4 สูบ ทำเวลาเร็วที่สุดในประเทศไทยไปครองด้วยเวลา 7.000 Sec และช่างญา ที่ทำรถหน้ายาววิ่งทะลายกำแพง 7 Sec ลงมาได้โดย จอย นักขับคู่บุญที่ขับคันนี้แล้วตอกเวลาไว้ที่ 6.12 Sec. ถือว่าเป็นเวลาประวัติศาสตร์ของเมืองไทยก็ว่าได้ แต่เพื่อนๆ รู้กันหรือไม่ว่าการแข่งขันประเภทนี้เกิดขึ้นมาตอนไหนแล้วทำไมถึงเรียกว่าการแข่งขัน แดร็ก (Drag) แล้วทำไมต้องเป็นระยะทาง 402 เมตร ซึ่งระยะการในการแข่งขันก็มีมากมาย ทั้ง 1 กิโลเมตร หรือ 500 เมตร เป็นต้น เรามาไขข้อข้องใจไปด้วยกันว่าการแข่งขัน Drag คืออะไร เกิดขึ้นมาได้ไง
การแข่งขัน Drag Car จริงๆ แล้วถ้าแปลแบบตรงตัวคำว่า Drag Car จะแปลได้ว่าเป็นการ “ลากรถ” นั่นเอง ทางทีมงานจึงเข้าใจว่าการแข่งขัน Drag Car ในยุคแรกๆนั่น น่าจะเอารถที่เป็นรถลากสิ่งของมาทำการแข่งขันกัน การวิ่งแข่งรถแดร็กเกิดขึ้นที่แคลิฟอร์เนียเมื่อประมาณปีค.ศ. 1930 ซึ่งในยุคนั้นก็มีการใช้รถเพื่อการพาณิชย์ใช้รถในชีวิตประจำวัน การขับรถใช้งานก็จะมีการขับเร็วบ้างแซงกันบางซึ่งถือว่าเป็นเรื่องปรกติของการใช้รถใช้ถนน จนคนใช้รถบางกลุ่มที่คิดว่าตัวเองขับรถเร็วอยู่แล้วจึงมาเจอกันมาจับกลุ่มกันและประลองความเร็วกัน โดยสถานที่แข่งในยุคนั้นก็หนีไม่พ้นพื้นที่ในทะเสสาปที่แห้งคอดเพราะจะได้ไม่ไปกวนคนอื่นที่ใช้รถอยู่แล้ว โดยรถในสมัยนั้นสามารถทำความเร็วได้สูงถึง 100 ไมล์ต่อชั่วโมงเลยทีเดียว แต่พอหลังสงครามโลกจากสงครามโลกครั้งที่สองเกิดขึ้นทำให้การขับรถแดร็กก็เงียบหายไปคนไม่ค่อยให้ความนิยมเท่าที่ควร แต่ก็ไม่ได้เงียบหายไป แต่ความนิยมก็เติบโตขึ้นมาเรื่อยๆ ซึ่งการแข่งขันส่วนใหญ่จะไปแข่งขันกันที่รันเวย์ของกองทัพทหารที่เลิกใช้งานในช่วงสงครามโลกไปแล้ว ซึ่งจัดแข่งขันขึ้นอย่างเป็นทางการอีกครั้งในปี 1949 ที่ฐานทัพอากาศโกลตา ในแคลิฟอร์เนีย ซึ่งการแข่งขันในตอนนั้นไม่ได้มีเทคโนโลยีอะไรมาก ไม่มีไฟสัญญาณในการปล่อยตัว ไม่มีระยะเวลาให้ดูตอนเข้าเส้นชัย ระยะทางในการแข่งขันตอนนั้นก็ประมาณ ¼ ไมล์ ซึ่งเป็นความยาวของบล็อคเมืองในขณะนั้น ในส่วนของเรื่องความปลอดภัยไม่ต้องพูดถึงเพราะไม่มีเป็นลายลักษณ์ขึ้นอยู่กับข้อตกลงของนักแข่งเองในระหว่างที่แข่งขัน ส่วนคนดูก็ยืนดูตามความเหมาะสมเพราะในสมัยนั้นยังไม่มีอัศจรรย์ให้คนดูได้นั่งดูและนั่งชมกัน
หลังจากที่การแข่งขันแดร็กได้รับความนิยมมากขึ้นจึงได้เกิดการแข่งขัน National Hot Rod Association (NHRA) ซึ่งจัดตั้งโดย Wally Parks ในปี 1951 ในยุคนั้นมีแข่งกันสองคลาสคือ ‘Unmodified Stock’ และ ‘Top Eliminator’ พอการแข่งขันรถแดร็กในยุคนั้นได้รับความนิยมกันอย่างแพร่หลายก็ อู่ที่ทำการตกแต่งรถในยุคนั้นจะมี Albertson Olds และ Dragmaster Dart ที่เป็นคู่แข่งกันมาตลอด โดยที่อู่ Dragmaster Dart ที่มี Dode Martin and Jim Nelson เป็นคนทำเครื่องและขับรถแดร็กในยุคสมัยนั้น โดยรถของทั้งสองอู่นี้จะเรียกได้ว่าเป็นคนต้นแบบของรถแดร็กในปัจจุบันก็ว่าได้ โดยในยุคแรกของการแข่งขันรถแดร็กในปี 1960 ที่จัดแข่งขันรถแดร็กอย่างเป็นทางการ การปล่อยตัวรถนั้นยังคงเป็นคนยืนโบกธงระหว่างรถสองคันเพื่อเป็นการให้สัญญาณในการปล่อยตัว โดยคนโบกธงจะดูที่หน้าคนขับทั้งสองฝั่งซ้ายและขวา ถ้าพร้อมถึงค่อยสะบัดธงเพื่อเป็นสัญญาณเริ่มการแข่งขันในแต่ละรอบ พอรถแข่งเริ่มที่จะมีความสั้นยาวไม่เท่ากันคราวนี้ก็จะเป็นเรื่องการได้เปรียบและเสียเปรียบกันตอนเข้าเส้นชัยนั้นเอง
จึงได้เปลี่ยนการออกตัวมาเป็นแบบใช้สัญญาณไฟในการออกตัว เนื่องจากยุคหลังๆ ของรถแข่งแดร็กนั้นจะมีขนาดของรถที่ไม่เท่ากัน เพราะรุ่นที่ใช้ในการแข่งขันมากขึ้น รถแข่งแต่ละคันก็จะมีความยาว ความสั้น ไม่เท่ากัน บางคันรถแคบแต่ยาว บางคันกว้างแต่สั้น ดังนั้นจึงไดเ้ปลี่ยนการออกตัวเป็นแบบดูสัญญาณไฟและการเข้าเส้นชัยแบบตัดสัญญาณเป็นตัวบอกว่าใครเข้าเส้นชัยก่อนซึ่งเรียกตัวสัญญาณไฟปล่อยตัวนี้ว่า The Christmas Tree Counting Down การทำงานก็จะเหมือนกับสัญญาณไฟในยุคปัจจุบันที่เราๆ เห็นกัน ถ้ารถเข้าจุดตามที่ต้องการสัญญาณไฟ 2 ดวงบนจะติดค้าง ก่อนที่ไฟส้มจะติดสามดวงไล่ลงมา ก่อนจะมาถึงสัญญาณไฟเขียวเป็นการปล่อยตัวให้รถวิ่งไปข้างหน้า เและในยุค 1970 นี้เองก็มีกติกาการเบิร์นยางออกมา โดยก่อนที่จะทำการออกตัวก็จะมีตำแหน่งให้จุ่มน้ำ มีตำแหน่งในการเบิร์นยางให้อุณหภูมิของยางร้อนถึงจุดที่ใช้งานและทำให้เกาะถนนมากขึ้น ก่อนที่จะทำการแข่งขันต่อไป
จากนั้นมาการแข่งขันแดร็กก็ถูกพัฒนามาเรื่อยๆ ทั้งเครื่องยนต์ที่ถูกพัฒนาให้มีความแรงมากขึ้น บดี้รถออกแบบให้มีน้ำหนักที่เบามากขึ้นพรียวลมมากขึ้น แต่ยังมีความแข็งแรงปลอดภัย รุ่นในการแข่งขันมีมากขึ้นตามปีรถที่ถูกผลิตออกมาจนในยุคปัจจุบัน ซึ่งกีฬาการแข่งขันรถยนต์ทางเรียบประเภททางตรงนี้ถือว่าได้รับความนิยมกันอย่างล้มหลามจริงๆ ทั้งในบ้านเราและต่างประเทศ
ขอบคุณข้อมูลและรูปจาก
www.1962dragmaster.blogspot.com
เครดิต www.boxzaracing.com