เพลาขับ
>> รถขับเคลื่อนล้อหน้าในยุคที่ผ่านมามีปัญหาเรื่องเพลาขับมาตลอด เนื่องจากเพลาต้องรับหน้าที่หลายอย่างด้วยกัน ปกติหน้าที่ของเพลาขับคือ รับกำลังจากเกียร์แล้วส่งไปยังล้อ >> ในรถขับเคลื่อนล้อหน้าเพลาขับยังต้องเลี้ยวตามพวงมาลัยอีก เมื่อต้องส่งกำลังด้วยเปลี่ยนทิศทางตามล้อด้วย อายุการใช้งานของเพลาขับหน้าในยุคก่อนจึงค่อนข้างสั้น และเพลาขับก็มีราคาค่อนข้างแพงเอาเรื่องเลยทีเดียว
t
tรถขับเคลื่อนล้อหน้ายุคแรกๆ เพลาขับจะไม่ค่อยทนทานนัก สังเกตจากรถที่ใช้งานปกติ เพลาจะเริ่มดังเฉลี่ย 1.5 แสนกิโลเมตร หรือมากกว่านั้นนิดหน่อย แต่รถขับเคลื่อนล้อหน้ายุคนี้อายุการใช้งานของเพลาขับมากกว่าเดิมเป็นเท่าตัว
t
t เพลาขับต้องได้รับการดูแลรักษา การปล่อยปละละเลย ไม่รู้จักบำรุงรักษาตามระยะเวลาที่เหมาะสม ทำให้เกิดความเสียหายบานปลายตามมา หนทางในการซ่อมบำรุงจึงเป็นเรื่องที่ต้องคิดหนัก เพราะมีค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมสูงมาก หรือไม่สามารถซ่อมได้
t
tttttttttt t ttttttttt
tttttttttt ttttttttt tt
tttttttttttt
tขับอย่างไรทำร้ายเพลา
tหน้าที่ของเพลาขับถือว่าสำคัญมาก เพราะเป็นตัวกลางในการส่งถ่ายกำลังต่อจากชุดเกียร์ไปยังล้อคู่ขับเคลื่อน สำหรับเพลาขับหน้านั้น นอกจากทำหน้าที่ขับเคลื่อนแล้ว ยังต้องทำหน้าที่รักษามุมเลี้ยวให้คงที่ ต้องหมุนขับเคลื่อนล้อด้วยความเร็วคงที่ และหน้าที่สำคัญมากอีกอย่างคือ ต้องยืด-หดได้ตามจังหวะการยุบขึ้น-ลงของล้อ
t
t ด้วยหน้าที่และภาระที่หนักหนาของมัน การสึกหรอจึงเป็นเรื่องปกติ ยิ่งขับโหดเท้าหนัก ออกตัวแรงๆ หักเลี้ยวแรงๆ เพลาขับยิ่งต้องรับภาระหนักกว่าปกติอีกเป็นเท่าตัว
t
t ท่านที่ชอบขับขึ้นที่จอดรถเร็วๆ แรงๆ ตามตึกที่มีมุมเลี้ยวแคบๆ ต้องระวังไว้ให้ดี เพราะนั่นจะเป็นการทำร้ายเพลาขับของคุณโดยไม่รู้ตัว รวมถึงการหักพวงมาลัยจนสุดเวลาถอยจอดหรือออกตัว ก็ล้วนทำให้เพลาขับสึกหรอก่อนเวลาอันควร
t
ttttttttt tttttttttt ttttttttt tt
tttttttttttt
t
tttttttttt t
ttttttttt tttttttttt ttttttttt tt
tttttttttttt
tรู้ได้อย่างไรว่าเพลาเสื่อม
tอาการเสื่อมหรือสึกหรอของเพลานั้นมีหลายอาการ เนื่องจากเพลาขับแต่ละข้างจะประกอบด้วยหัวเพลาสองด้าน คือด้านที่ติดกับล้อและด้านที่ติดกับเกียร์ สิ่งบ่งบอกว่าเพลาขับเริ่มเสื่อมสภาพจะมีด้วยกันหลายอาการ
t
t ปกติแล้วหัวเพลาด้านที่ติดกับล้อจะเสื่อมสภาพเร็วกว่าตัวใน อาการเสื่อมมักจะแสดงออกมาเป็นเสียงเวลาออกตัวหรือเลี้ยวจะมีเสียงดังก๊อกๆๆ นั่นหมายความว่าเพลาสึกหรอมาก เนื่องจากกลไกในเพลาขับนั้นค่อนข้างมีความบอบบาง เพราะเป็นชิ้นส่วนเล็กๆ หลายๆ ชิ้นที่อยู่รวมกัน
t
t ภายในเพลาขับนั้นใช้ลูกปืนกลมๆ วิ่งอยู่ภายในรางสองราง จุดที่ลูกปืนสัมผัสตลอดเวลานั้นคือบริเวณเรือนเพลาตัวนอก เรือนลูกปืนตัวใน และกรงลูกปืน เนื่องจากลูกปืนเป็นตัวกลางที่จะทำให้ชิ้นส่วนหลักๆ ทั้งสามชิ้นเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระต่อกันทำให้บริเวณที่ลูกปืนสัมผัสเกิดการสึกหรอบริเวณผิวหน้า
t
t หลายคนคงไม่เชื่อว่าการสึกหรอเพียงเล็กน้อยเท่านั้นก็ทำให้เกิดเสียงดังแล้ว การสึกหรอเพียง 0.04-0.05 มิลลิเมตร เอานิ้วลูบยังไม่รู้สึกสะดุดเลยด้วยซ้ำ แต่แค่นี้ก็ทำให้เกิดเสียงดังได้แล้ว
t
t เสียงเตือนระยะแรกๆ จะเป็นเสียงกึกๆ เบาๆ เวลาวิ่งบนสภาพเส้นทางขรุขระ เมื่อสึกหรอมากขึ้นเสียงจะดังมากขึ้น แถมเวลาเลี้ยวเสียงจะดังมากขึ้นเรื่อยๆ บางทีเราจะได้ยินรถเลี้ยวมาแล้วมีเสียงก๊อกๆ ลั่นถนนมาให้ได้ยินบ่อยๆ ส่วนที่เกิดการสึกหรอมากที่สุดคือบริเวณหัวเพลาขับตัวนอก เพราะต้องรับแรงหลายๆ อย่างพร้อมๆ กัน และมุมในการส่งถ่ายกำลังเมื่อหันเลี้ยว
tจะมีมากกว่า
t
t บางครั้งเพลาตัวในเสื่อมสภาพก็ทำให้เกิดอาการผิดปกติได้ แม้จะไม่ส่งเสียงดังให้เราได้ยินแต่ก็มีอาการอื่นๆ บ่งบอกเช่นกัน เช่น วิ่งแล้วพวงมาลัยสั่นนิดๆ หรือจังหวะแรกที่แตะเบรกเบาๆ ในความเร็วสูงแล้วสั่น แม้จะตั้งศูนย์ถ่วงล้อรวมถึงเจียร์จานเบรกแล้วก็ไม่หาย อาจเป็นได้ที่เพลาตัวในสึกหรอหรือลูกปืนแตกทำให้เกิดระยะรุนด้านข้าง เลยส่งผลให้พวงมาลัยสั่นดังที่กล่าวไป
tถ้าพบเจออาการเช่นนี้อย่ามองข้ามเพลาขับตัวใน
t
ttttttttt tttttttttt ttttttttt tt
tttttttttttt
t
tttttttttt t
ttttttttt tttttttttt ttttttttt tt
tttttttttttt
t
tยิ่งขับโหดเท้าหนัก
tออกตัวแรงๆ
tหักเลี้ยวแรงๆ
tเพลาขับยิ่งต้อง
tรับภาระหนัก
tกว่าปกติอีกเป็นเท่าตัว
t
tttttttttt t
ttttttttt tttttttttt ttttttttt tt
tttttttttttt
tการบำรุงรักษาเพลาขับ
tเรื่องนี้มันขึ้นอยู่กับลักษณะนิสัยการขับขี่ของเจ้าของรถโดยตรง รวมถึงการดูแลรักษาก็เป็นเรื่องสำคัญไม่แพ้กัน ถ้าขับรถด้วยความนุ่มนวลอายุการใช้งานของเพลาก็จะยาวนาน แต่สิ่งที่เรามักมองข้ามกันคือ ‘การบำรุงรักษา’ เรามักใช้กันจนเพลาขับพัง จะซ่อมก็ต่อเมื่อยางหุ้มเพลาขาด
t
t อันที่จริงนั้นเพลาขับมันก็เหมือนกับเครื่องยนต์ที่ต้องการการหล่อลื่นที่เหมาะสม น้ำมันเครื่องเรายังรีบเปลี่ยนถ่ายก่อนที่มันจะถึงอายุด้วยซ้ำ เพราะกลัวว่าเครื่องยนต์จะหลวมเร็วกว่าที่ควรจะเปลี่ยน
t
t ในเพลาขับมีจาระบีที่หล่อลื่นอยู่ จาระบีตัวนี้ต้องทำหน้าที่หนัก ต้องรับแรงกระแทกและหล่อลื่นไปพร้อมๆ กัน เมื่อถึงเวลาที่เหมาะสมตามอายุก็ต้องเปลี่ยนถ่ายจาระบีตามระยะที่เหมาะสม เมื่อได้จาระบีใหม่ๆ การปกป้องชิ้นส่วนภายในเพลาก็จะทำได้ดี ระยะเวลาที่เหมาะสมนั้นคู่มือประจำรถบางคันมีกำหนดให้เปลี่ยนจาระบีด้วย แต่ส่วนใหญ่มักจะไม่มีระยะเวลาที่เหมาะสมก็อยู่ในราว 50,000 กิโลเมตรหรือทุกๆ สองปี ขึ้นอยู่กับสภาพเส้นทางการใช้งานด้วย ถ้าขับพื้นที่น้ำท่วมประจำ ทางขรุขระก็ควรเปลี่ยนเร็วขึ้น
t
t นอกจากนี้ควรตรวจสภาพยางหุ้มเพลาขับบ่อยๆ เพื่อป้องกันฝุ่นละอองไม่ให้เข้าไปกรณีที่ยางขาด เพราะฝุ่นละอองนั้นทำให้เกิดการสึกหรอที่ผิดปกติและรวดเร็ว
t
t เชื่อหรือไม่ว่าลักษณะการขับขี่กับการดูแลรักษาที่เหมาะสมนั้นสามารถยืดอายุการใช้งานของเพลาได้มาก แต่อู่หรือศูนย์มักไม่ค่อยแนะนำให้ทำเพราะเป็นงานเสียเวลาค่าแรงค่าอะไหล่ได้ไม่เยอะ แต่เมื่อเป็นรถเรา ทำเถอะครับ เพราะเพลาใหม่ๆ คู่หนึ่งก็ต้องว่ากันหมื่นห้าถึงสองหมื่นกลางๆ สำหรับรถญี่ปุ่นทั่วๆ ไป
t
tttttttttttt
t
tttttttttt t
ttttttttt tttttttttt ttttttttt tt
tttttttttttt
t
tในเพลาขับมีจาระบีที่หล่อลื่นอยู่ เมื่อถึงเวลา
tที่เหมาะสมตามอายุ ก็ต้องเปลี่ยนถ่ายจาระบี
t
tttttttttt t
ttttttttt tttttttttt ttttttttt tt
tttttttttttt
tแล้วควรจะเปลี่ยนหรือซ่อม
tแนวทางในการซ่อมแซมนั้นมีหลายทาง ขึ้นอยู่กับงบประมาณที่มีในกระเป๋าและความเหมาะสม ก่อนที่จะติดสินใจเปลี่ยนเพลาขับสิ่งแรกที่ต้องทำคือ ‘เช็กราคาศูนย์’ เป็นอันดับแรก เราจะใช้เป็นแนวทางในการซ่อมบำรุงอย่างเหมาะสม
t
t อีกอย่างรถบางรุ่นราคาเพลาถูกจนไม่น่าเชื่อก็มี ถ้าราคาเพลาขับอยู่ระดับหมื่นต้นๆ ถ้ามีกำลังพอ ก็เปลี่ยนของใหม่เลย แต่ถ้าคิดว่ากำลังทรัพย์ไม่ถึงก็ลองดูทางอื่นในการซ่อมบำรุง
t
t ทางที่ 2 เปลี่ยนไปใช้เพลามือสอง กรณีนี้ราคาไม่ค่อยแน่นอน เริ่มต้นประมาณ 3,000-6,000 บาท แต่ซื้อมาแล้วอาจจะต้องนำมาทำความสะอาดเปลี่ยนจาระบีและยางหุ้มเพลาใหม่ อายุการใช้งานก็แล้วแต่ดวงครับ โชคดีก็ได้อีกสองปีเป็นอย่างน้อย
t
t ปัญหาอยู่ที่ตอนซื้อ ตาดีได้ตาร้ายเสีย ประมาณนั้น บางคนซื้อมาแล้วใช้ได้ 5-6 เดือนก็ดังแล้วก็มี ดังนั้นต้องคำนวณดูนะครับว่าแนวทางไหนจึงจะคุ้มค่ากว่า อีกแนวทางที่น่าสนใจพอๆ กับการเปลี่ยนเพลามือสองก็คือการซ่อมเพลาเดิม
t
t แต่การซ่อมนั้นต้องเป็นการซ่อมที่ได้มาตรฐาน การซ่อมนั้นมีสองวิธี วิธีแรกจะทำการเชื่อมพอกบริเวณจุดที่เกิดการสึกหรอ แล้วกลึงผิวหน้าให้เรียบเสมอกัน แม้ว่าการซ่อมแซมวิธีนี้จะราคาถูกมากๆ แต่อายุการใช้งานไม่ค่อยยาวนานนัก เพราะการเชื่อมจะใช้โลหะคนละชนิดกับที่ใช้ทำหัวเพลา ความแข็งจึงไม่เท่ากัน
t
t บางแห่งใช้ทองแดงในการเชื่อมพอก เพราะเรือนเพลาเป็นเหล็กหล่อที่ยากต่อการเชื่อม และความร้อนที่เกิดขึ้นทำให้ผิวเหล็กบริเวณรอบๆ รอยเชื่อมมีความแข็งแรงลดลง ไม่นานนักก็สึกหรออีก บางทีซ่อมไปได้ 5-6 เดือนก็ดังอีกแล้ว แต่ค่าซ่อมจะอยู่ประมาณ 1,500 บาทต่อคู่ ราคานี้ยังไม่รวมค่าแรงถอดใส่และเปลี่ยนยางหุ้มเพลา รวมๆ แล้วก็ประมาณ 3,000 บาท บวกลบนิดหน่อย
t
t การซ่อมแบบที่ 2 คือการซ่อมแบบโอเวอร์ฮอล (Overhaul) ซ่อมเหมือนการคว้านกระบอกสูบของเครื่องยนต์ ขั้นตอนการกลึงนั้นจะใช้เครื่องกลึงความเร็วต่ำ มีสารระบายความร้อนช่วยป้องกันไม่ให้เนื้อโลหะสูญเสียความแข็งแรง แล้วเปลี่ยนลูกปืนใหม่ให้โตขึ้นกว่าเดิม
t
t การโอเวอร์ฮอลนั้นจะทำการกลึงชิ้นส่วนทั้งสามชิ้นที่สึกหรอ การเปลี่ยนลูกปืนให้โตขึ้นเหมือนเปลี่ยนลูกสูบให้ใหญ่ขึ้นนั่นเอง เพื่อให้ระยะห่างของชิ้นส่วนเท่าเดิม ค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงแทบจะไม่แตกต่างกับการซ่อมเพลาวิธีเดิม ปัจจุบันมีผู้ที่ทำเพลาลักษณะนี้ไว้แลกเปลี่ยนกับเพลาเดิม ในราคาที่แพงกว่าการพอกเชื่อมไม่มากนัก แต่มีความทนทานมากกว่าเป็นเท่าตัว สะดวกเพราะเป็นเพลาที่ซ่อมไว้แล้วไม่ต้องรอ แค่ถือไปแลกเปลี่ยนเท่านั้น
t
t การซ่อมอีกแบบคือการเปลี่ยนเฉพาะหัวเพลาด้านนอกเพียงอย่างเดียว เป็นหัวเพลาของยี่ห้ออิสระ แบบนี้จะมีอายุการใช้งานใกล้เคียงเพลาใหม่ เนื่องจากตัวก้านเพลาขับและหัวในไม่เสียง่ายๆ หัวเพลาตัวนอกเปลี่ยนไปสองหัวแล้ว หัวในยังไม่เป็นไรเลย
t
t แล้วซ่อมอย่างไรถึงจะคุ้ม อยากจะไล่เป็นอันดับ ดังนี้
t
- ttเปลี่ยนเพลาใหม่ทั้งเส้น
- ttเปลี่ยนเฉพาะหัวเพลาใหม่ที่มียี่ห้ออิสระให้เลือกหลายยี่ห้อ
- ttซ่อมเพลาแบบโอเวอร์ฮอล
- ttเพลามือสอง
- ttซ่อมแบบเชื่อมพอก
t
t โดยเช็กราคาเพลาทุกประเภท แล้วค่อยดูว่างบประมาณเรามีเท่าไหร่ ถ้างบอยู่ในข้อ 1-3 ก็จัดเลยไม่ต้องกังวล แต่ถ้างบน้อยแล้วเพลายังไม่ดังมาก ก็เก็บเงินอีกหน่อยจะได้ซ่อมแล้วใช้ได้ยาวๆ จะได้ไม่ต้องมาเสียน้อยเสียยากภายหลัง
t
ttttttttt tttttttttt ttttttttt tt
tttttttttttt
t
tttttttttt t
เครดิต www.gmcarmagazine.com