เมื่อทราบว่า ตรอ.คืออะไรแล้ว หากไม่สามารถนำรถไปตรวจที่กรมการขนส่งทางบกได้ ก็สามารถนำรถไปตรวจเช็กกับ ตรอ. ที่ได้รับอนุญาตจากกรมการขนส่งทางบกเพื่อขอเอกสารการันตีว่ารถสามารถขับขี่ได้ตามมาตรฐาน
1. รถที่อยู่ในข่ายต้องตรวจสภาพ ก่อนเสียภาษีประจำปี
รถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกทุกประเภท โดยไม่จำกัดอายุการใช้งาน
รถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ ประเภทดังนี้
- รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน ที่มีอายุใช้งานครบ 7 ปี ขึ้นไป
- รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน ที่มีอายุใช้งานครบ 7 ปี ขึ้นไป
- รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล ที่มีอายุใช้งานครบ 7 ปี ขึ้นไป
- จักรยานยนต์ ที่มีอายุใช้งานครบ 5 ปี ขึ้นไป
- รถที่ภาษีขาดเกิน 1 ปี
2. สถานที่ตรวจสภาพ
รถที่จดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกทุกประเภทเจ้าของรถจะนำไป ตรวจสภาพ ที่สถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.) ที่ได้รับอนุญาตจากกรมการขนส่งทางบก และหน่วยงานของกรมการขนส่งทางบกก็ได้
รถที่จดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ ประเภทรถยนต์ส่วนบุคคลและรถจักรยานยนต์ ต้องตรวจสภาพกับสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตจากกรมการขนส่งทางบกเท่านั้น ยกเว้น
- รถยนต์ที่มีน้ำหนักรถเปล่าเกิน 1,600 กิโลกรม จะตรวจสภาพที่ ตรอ. หรือหน่วยงานของกรมการขนส่งทางบกก็ได้
- รถของส่วนราชการ บุคคลในคณะผู้แทนทางการฑูต คณะผู้แทนทางกงสุล องค์การระหว่างประเทศ ฯลฯ จะตรวจสภาพที่ ตรอ. หรือหน่วยงานของกรมการขนส่ง ก็ได้
- รถที่มีการดัดแปลงสภาพ รถที่เปลี่ยนสี เปลี่ยนเครื่องยนต์ รถที่มี ปัญหาเกี่ยวกับเลขตัวรถหรือเลขเครื่องยนต์ รถที่ขาดต่ออายุ ทะเบียนเกิน 1 ปี ฯลฯ (รายละเอียดตามข้อ 6) ให้นำรถไปตรวจ สภาพ ณ หน่วยงานของกรมการขนส่งทางบก
3. อัตราค่าตรวจสภาพ
- รถจักรยานยนต์ คันละ 60 บาท
- รถยนต์ที่มีน้ำหนักรถเปล่าไม่เกิน 1,600 กิโลกรัม คันละ 150 บาท
- รถยนต์ที่มีน้ำหนักรถเปล่าเกิน 1,600 กิโลกรัม คันละ 250 บาท
ในการไปติดต่อกับสถานตรวจสภาพรถให้เข้าของรถนำรถและ สมุดคู่มือทะเบียนรถ ไปแสดง และหากผลการตรวจสภาพปรากฏว่า รถอยู่ในเกณฑ์ที่ผ่านการตรวจ สภาพสถานตรวจสภาพรถจะออกใบรับรองการตรวจสภาพรถตามแบบ ที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด รถอยู่ในเกณฑ์ไม่ผ่านการตรวจสภาพ สถานตรวจสภาพรถจะแจ้งข้อบกพร่องที่เป็นเหตุให้รถนั้นไม่ผ่านการตรวจสภาพให้เจ้าของทราบ เพื่อจะได้ นำรถไปแก้ไขข้อบกพร่องแล้วนำมาตรวจใหม่ หากแก้ไขแล้วนำไปตรวจ สภาพที่ สถานตรวจสภาพรถเอกชนแห่งเดิมภายใน 15 วัน จะเสียค่าตรวจใหม่ ในอัตราครึ่งหนึ่งของค่าบริการที่กำหนดไว้ แต่หากเกิน 15 วัน หรือไปตรวจที่สถาน ตรวจสภาพรถเอกชนแห่งอื่น จะเสียค่าบริการเต็มอัตรา
4. การนับอายุใช้งานของรถ
การนับอายุการใช้งานของรถ ให้นับอายุทางทะเบียนโดยนับตั้งแต่วัน ที่จดทะเบียนครั้งแรกถึงวันสิ้นอายุภาษีประจำปี (วันครบกำหนดเสียภาษีประจำปี)
2
5. เงื่อนไขเกี่ยวกับประเภท ชนิด ยี่ห้อ และขนาดรถที่สถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.) จะให้บริการ
สถานตรวจสภาพรถเอกชนแต่ละแห่งจะต้องตรวจสถาพรถตามชนิด (ยี่ห้อ) ประเภท และ ขนาดรถตามที่ยื่นขออนุญาตและได้รับอนุญาตจากทะเบียนกลางไว้
เช่น ตรวจสภาพรถยนต์ ขนาดน้ำหนักรถเปล่าไม่เกิน 1,600 กิโลกรัม ทุกยี่ห้อ หรือ ตรวจสภาพรถจักรยานยนต์ เฉพาะยี่ห้อหรือตรวจสภาพรถยนต์ขนาดน้ำหนักรถเปล่าไม่เกิน 1,600 กิโลกรัม และเกิน 1,600 กิโลกรัม และรถจักรยานยนต์ ทุกยี่ห้อ เป็นต้น
กรณีรับตรวจสภาพรถบางชนิดยี่ห้อ ต้องแสดงป้ายที่เห็น ได้ชัดเจน เพื่อให้ประชนที่จะมาใช้บริการทราบ ด้วยกรณีสถานตรวจสภาพเอกชนแห่งใด ต้องการจะตรวจสภาพรถในประเภท ชนิด ยี่ห้อ และขนาดต่างจากที่ได้รับอนุญาตจาก นายทะเบียนกลาง ให้ทำหนังสือขออนุญาตต่อนายทะเบียนกลางเพื่อพิจารณา เป็นรายๆ ไปได้
6. รถที่ต้องนำไปให้นายทะเบียนตรวจสภาพที่หน่วยงานของกรมการขนส่งทางบก (สถานตรวจสภาพรถเอกชนไม่สามารถรับตรวจสภาพได้) รถที่ดัดแปลงสภาพผิดไปจากที่ได้จดทะเบียนไว้
รถที่เปลี่ยนสีหรือเปลี่ยนแปลงตัวรถหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของรถให้ผิดไปจาก รายการที่จดทะเบียนไว้ในสมุดคู่มือ ทะเบียนรถ (เช่น เปลี่ยนเครื่องยนต์ เปลี่ยนลักษณะรถ เปลี่ยนชนิดน้ำมันเชื้อเพลิง เป็นต้น)
รถที่มีปัญหาเกี่ยวกับเลขตัวรถหรือเลขเครื่องยนต์ (เช่น ไม่ปรากฏตัวเลข ตัวเลข ชำรุด หรือมีร่องรอยการแก้ไข ขูด ลบ หรือลบเลือน จนไม่สามารถตรวจสอบ ความถูกต้องได้ เป็นต้น) รถที่เจ้าของได้ แจ้งการไม่ใช้ชั่วคราว หรือแจ้งการ ไม่ใช้รถตลอดไปไว้
- รถเก่าที่มีเลขทะเบียนเ็ป็นเลขทะเบียนรุ่นเก่า (เช่น กท-00001,กทจ-0001 เป็นต้น)
- รถที่มีปัญหาเกี่ยวกับการถูกโจรกรรมแล้วได้คืน
- รถที่ได้สิ้นอายุภาีษีประจำปี (ขาดต่อทะเบียน) เกิน 1 ปี (ตรอ. ตรวจได้)
3
สรุปตรอ.ตรวจอะไรบ้าง
- การตรวจวัดเสียง ต้องไม่เกิน 100 เดซิเบล
- รถยนต์เครื่องยนต์ดีเซล ต้องตรวจควันดำ โดยระบบกระดาษกรองต้องไม่เกินร้อยละ 50 และระบบวัดความทึบแสงต้องไม่เกิน 45%
- ตรวจสอบวัดโคมไฟหน้า ทิศทางเบี่ยงเบนของลำแสง และตรวจวัดค่าความเข้มของแสง
- ตรวจสอบความถูกต้องข้อมูลของรถ เช่น แผ่นป้ายทะเบียนรถ ลักษณะรถ หมายเลขตัวรถ เลขเครื่องยนต์ เป็นต้น
- ตรวจสภาพตัวถัง สี อุปกรณ์เกี่ยวกับความปลอดภัย อุปกรณ์ไฟฟ้า พวงมาลัย ที่ปัดน้ำฝน ว่ายังใช้งานได้ปกติหรือไม่
- ตรวจสอบระบบบังคับเลี้ยว ระบบรองรับน้ำหนัก ระบบเบรก ระบบเชื้อเพลิง ว่ายังใช้งานได้ปกติหรือไม่
- ทดสอบประสิทธิภาพการเบรก โดยตรวจสอบอุปกรณ์ทุกชิ้นว่าอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานหรือไม่
- ตรวจวัดก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) และก๊าซไฮโดรคาร์บอน (HC) ของรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง
เจ้าของรถสามารถนำรถเข้าตรวจตรอ. ล่วงหน้าได้ไม่เกิน 3 เดือน ก่อนวันสิ้นอายุภาษีประจำปี คราวนี้ก็หมดกังวลกับการตรวจสภาพรถได้แล้ว
ที่มา กรมการขนส่งทางบก,GOBEAR
เครดิต www.autospinn.com