ระบบ ABS (Anti-lock Brake System)
ABS ย่อมาจาก Anti-lock Brake System ปัจจุบันเป็นอุปกรณ์ความปลอดภัยมาตรฐานในรถรุ่นใหม่ๆ แทบทุกคัน โดยระบบ ABS จะเข้าทำงานในสถานการณ์ฉุกเฉินเมื่อผู้ขับขี่เหยียบเบรกแบบจมมิด ช่วยป้องกันไม่ให้ล้อล็อกตาย ส่งผลให้ผู้ขับขี่ยังสามารถควบคุมทิศทางของตัวรถได้ แต่หากไม่มีระบบเอบีเอสดังกล่าว รถจะไถลไปข้างหน้าตามแรงเฉื่อย และไม่สามารถควบคุมทิศทางตัวรถได้
ระบบ ABS จะสั่งงานด้วยสมองกล หากพบว่าสปีดเซ็นเซอร์บริเวณล้อข้างใดข้างหนึ่งเริ่มมีอาการล็อกตาย สมองกลจะสั่งให้ชุดปั๊มเบรกจับและปล่อยจานเบรกอย่างรวดเร็วประมาณ 10-15 ครั้งต่อวินาที ซึ่งผู้ขับขี่ไม่สามารถทำเองได้ อีกทั้งยังสามารถสั่งการเพียงล้อใดล้อหนึ่งได้ ไม่จำเป็นต้องทำงานทั้งสี่ล้อพร้อมกัน เผื่อกรณีที่ล้อฝั่งหนึ่งวิ่งอยู่ทางลูกรัง ส่วนอีกฝั่งอยู่บนทางราดยาง ก็จะไม่ทำให้รถหมุนจนเสียอาการแต่อย่างใด
ส่วนอาการในขณะที่ระบบ ABS ทำงานนั้น จะมีแรงสั่นสะท้านมายังแป้นเบรกที่กำลังเหยียบอยู่ ซึ่งถือเป็นอาการปกติ ห้ามถอนเท้าออกจากแป้นเบรกโดยเด็ดขาด
ระบบ EBD (Electronic Brakeforce Distribution)
ระบบ BA (Brake Assist)
นอกจากระบบ ABS และ EBD แล้วนั้น ยังมีระบบ BA หรือ Brake Assist ที่ช่วยเสริมประสิทธิภาพการเบรกแบบฉุกเฉินให้ดียิ่งขึ้น โดยระบบ BA สามารถตรวจจับได้ว่าผู้ขับขี่กำลังอยู่ในสถานการณ์ฉุกเฉินที่ต้องการแรงเบรกสูงสุด แต่ผู้ขับขี่ส่วนมากแล้วมักเหยียบเบรกไม่รวดเร็วและหนักแน่นเพียงพอ ระบบที่ว่านี้จะช่วยเพิ่มกำลังเบรกให้สูงสุดโดยทันทีจนกว่ารถจะหยุดสนิท
ไฟ ABS โชว์ทำอย่างไรดี?
หลายคนพบว่าเมื่อใช้รถไปสักระยะหนึ่ง อาจพบว่ามีสัญญาณไฟ ABS แสดงขึ้นบนหน้าปัด ซึ่งโดยส่วนมากแล้วมักเกิดขึ้นจากเซ็นเซอร์ตรวจจับความเร็วล้อ (Wheel speed sensor) ข้างใดข้างหนึ่งเสียหรือสกปรก ซึ่งค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนไม่สูงมาก แต่บางกรณีอาจเกิดขึ้นจากปั๊ม ABS เสีย ซึ่งมีค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนสูงกว่า ทางที่ดีควรให้อู่หรือศูนย์บริการตรวจเช็กและแก้ไขจะดีที่สุด
ขอขอบคุณ ภาพ :Toyota Canada
เครดิต www.sanook.com