การทางพิเศษแห่งประเทศไทยประกาศปรับขึ้นอัตราค่าผ่านทางพิเศษฉลองรัช และทางพิเศษบูรพาวิถี ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2567 เป็นต้นไป ในอัตราเริ่มต้น 5 บาท สูงสุดไม่เกิน 20 บาท
การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) กระทรวงคมนาคม ปรับอัตราค่าผ่านทางพิเศษฉลองรัช และทางพิเศษบูรพาวิถี ตามเงื่อนไขสัญญากองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย TFFIF ที่จะปรับขึ้นทุก 5 ปี โดยจะปรับอัตราค่าผ่านทางในวันที่ 1 มี.ค. 2567 หลังจากที่ชะลอการปรับขึ้นค่าผ่านทางตามสัญญา มาตั้งแต่ 1 ก.ย. 2566 เพื่อช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้ใช้ทางพิเศษและประชาชน
ทั้งนี้ ทางพิเศษฉลองรัช และทางพิเศษบูรพาวิถี มิได้มีการปรับขึ้นค่าผ่านทางมากว่า 6 ปี และการปรับขึ้นค่าผ่านทางดังกล่าว คิดคำนวณตามดัชนีผู้บริโภค (CPI) ที่จะปรับขึ้นประมาณ 10% หรือประมาณ 5 บาท
อัตราค่าผ่านทางพิเศษฉลองรัช
- รถ 4 ล้อ ราคาเดิม 40 บาท ปรับเป็น 45 บาท
- รถ 6-10 ล้อ ราคาเดิม 60 บาท ปรับเป็น 65 บาท
- รถมากกว่า 10 ล้อ ราคาเดิม 80 บาท ปรับเป็น 90 บาท
ยกเว้นด่านฯ รามอินทรา 1 และด่านฯ สุขาภิบาล 5-2
- รถ 4 ล้อ ราคาเดิม 20 บาท ไม่มีการปรับขึ้น
- รถ 6-10 ล้อ ราคาเดิม 30 บาท ปรับเป็น 35 บาท
- รถมากกว่า 10 ล้อ ราคาเดิม 40 บาท ปรับเป็น 45 บาท
อัตราค่าผ่านทางพิเศษบูรพาวิถี
รถ 4 ล้อ
- กรณีเดินทางไม่เกิน 20 กิโลเมตร จะใช้อัตราค่าผ่านทางเดิม
- กรณีเดินทางเกิน 20 กิโลเมตร จะปรับอัตราค่าผ่านทางต่ำสุด 5 บาท สูงสุดไม่เกิน 10 บาท โดยคิดตามระยะทาง
รถ 6-10 ล้อ
- กรณีเดินทางไม่เกิน 20 กิโลเมตร จะปรับขึ้น 5 บาท
- กรณีเดินทางเกิน 20 กิโลเมตร จะปรับอัตราค่าผ่านทางต่ำสุด 10 บาท สูงสุดไม่เกิน 20 บาท โดยคิดตามระยะทาง
รถมากกว่า 10 ล้อ
- กรณีเดินทางไม่เกิน 20 กิโลเมตร จะปรับขึ้น 5 บาท
- กรณีเดินทางเกิน 20 กิโลเมตร จะปรับอัตราค่าผ่านทางต่ำสุด 10 บาท สูงสุดไม่เกิน 25 บาท โดยคิดตามระยะทาง
ทั้งนี้ กทพ. ได้พยายามชะลอการปรับขึ้นค่าผ่านทางของทางพิเศษทั้ง 2 สายดังกล่าว มาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะทางพิเศษฉลองรัช ที่ไม่ได้ปรับขึ้นค่าผ่านทางมาเป็นระยะเวลา 15 ปี แม้ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ การบำรุงรักษาทางพิเศษเพื่อให้อยู่ในสภาพที่ดีจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปีก็ตาม
เครดิต www.sanook.com
ฝาสูบ 4G13 เป็นยังไง? ไปชมกัน | แกะกล่องรีวิว